ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประชิด วามานนท์ 
พลิกปูม หิ่งห้อยน้อยแสงแฝงต้นลำพู
ในบทความพิเศษ
....

 
  หน้า
   1    2    3

 

 
  อ่านหน้าต่อไป

 

ต้นลำพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia caseolaris  (L.) Engl.
วงศ์ : Sonneratiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น ขึ้นอยู่ชายเลนที่น้ำท่วมถึง มีรากงอกขึ้นเหนือพื้นดิน ลำต้นสูง ๑๐-๒๕ เมตร ทรงพุ่ม กิ่งก้านห้อยย้อยลง ใบ เดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ขนานอย่างน้อย ๕ คู่ กว้าง ๐.๔ -๐.๖ เซนติเมตร ยาว ๐.๕-๑๑ เซนติเมตร รูปมนไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบขอบเรียบ เนื้อหนาสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีอ่อน  ดอก ออกเป็นช่อติดก้านสลับใบและปลายกิ่ง บานห่อ ๔-๗ เซนติเมตร กลีบรองดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกขาวลายสีม่วงแดงเข้ม ปลายแยกแหลมเป็น ๖ กลีบ บาง ร่วงง่าย เกสรผู้เส้นขาวจำนวนมาก ผล กลมแป้นสีเขียวคล้ายลูกจันทร์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ประโยชน์
ไม้ลำพู ต้น ราก ใช้ทำจุกขวด ภาชนะปิดฝาโอ่ง ไห ที่มีคุณค่ามากมาก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่นแทน จึงทำให้ต้นลำพูหมดค่าขาดการดูแลขยายพันธุ์ ต้นลำพูยังป้องกันพื้นตลิ่ง กันน้ำเซาะได้ดี และดูดซึมน้ำเสียเป็นน้ำดีด้วย
      * ส่วน ลำแพน  (
Sonneratia alba  J.Sm.) อยู่ในวงศ์  Sonneratiaceae   ภูเก็ต เรียก ปาด สตูลเรียก รำป๊าด  นราธิวาสเรียก บูแม 
     * ลำภู ในร่าย ๒  "ไม้ลำภูลำแพง"  ลำภูนี้ปัจจุบันคือ ลำพูป่า ชื่อวิทยาศาสตร์คือ
Duabanga grandiflora  (Roxbex DC.) Walp. เป็นไม้อยู่ในวงศ์เดียวกับลำพู คือ Sonneratiaceae มีชื่อพื้นบ้านเรียกอยู่มากมาย อาทิ กระดังงาป่า (กาญจนบุรี)  กาปลอง (ชอง-จันทบุรี)  กาลา คอเหนียง (เชียงใหม่) ขาเขียด (ชุมพร) ลำพูขี้แมว (ระนอง)  ลำพูควน (ปัตตานี) ลำแพน (ตรัง) ลำแพนเขา (พังงา) สะบันงาช้าง (แพร่)