พู่ระหง
ชบา (ดอกลาสีแดง)
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus schizopetalus  (Dyer.) Hook.f.
วงศ์ :  Malvaceae
ชื่อสามัญ :  Fringed Hibiscus, Coral Hibiscus
ชื่ออื่น : ชุมบาห้อย (ปัตตานี) พู่เรือหงส์ หางหงส์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร  ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบางสีเขียวเป็นมัน ดอก ดอกสีแดง ออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกชั้นเดียวแผ่โค้งไปด้านหลับ ขอบกลีบหยักเว้าลึกเป็นแฉกๆ ดอกห้อยลง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกัน เป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมีย อับเรณูติดที่บริเวณปลายดอก เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 5 แฉก โผล่พ้นเกสรเพศผู้ ออกดอกตลอดปี
นิเวศวิทยา :  มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันออก เคนยา แทนซาเนีย และตอนเหนือของโมซัมบิก ปลูกได้ทั่วไป
ขยายพันธุ์
ด้วยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง


 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Hibiscus rosa-sinensis  L.
วงศ์ :  Malvaceae
ชื่อสามัญ Chinese Rose, Chinese Hibiscus
ชื่ออื่น :  ชบา ชบาขาว ชุมบา (ปัตตานี) บา (ภาคใต้) ใหม่ ใหม่แดง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 เมตร  ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบางสีเขียว ดอก ดอกสีแดง กลางดอกสีเข้ม  ออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายกิ่ง มีริ้วประดับที่โคนดอก 5-8 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรเพศเมีย อับเรณูติดที่บริเวณปลายดอก เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 5 แฉก โผล่พ้นเกสรเพศผู้ ออกดอกตลอดปี ไม่ติดผลในไทย
นิเวศวิทยา :  มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ปลูกได้ทั่วไป
ขยายพันธุ์
ด้วยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง เสียบเกิ่ง



 

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด  ระหว่างพู่ระหง และชบาดอกลา (สีแดง)  คือ ดอกพู่ระหงนั้น ขอบกลีบหยักเว้าเป็นแฉกลึกๆ และแผ่โค้งไปด้านหลังเห็นเด่นชัดกว่าชบา

HOME