-3-

 

 
         
 

       1. กลุ่มผักกูดหรือเฟิน (Fern & Fern allies)

     

เป็นพืชไร้ดอก อาจเป็นเถา เป็นต้น มีเหง้า และไร้ต้น พบขึ้นบนบก ในน้ำ ตามพื้นดิน ตามก้อนหิน หรืออาศัยเกาะตามต้นไม้อื่น ในประเทศไทยมี 673 ชนิด จาก 34 วงศ์ และ 132 สกุล สำหรับในหมู่เกาะช้าง เท่าที่พบในเวลานี้ มี 116 ชนิดใน 22 วงศ์ คื

Aspleniaceae วงศ์ข้าหลวงหลังลาย เป็นพืชอิงอาศัย เกาะตามต้นไม้ และก้อนหิน ทุกสภาพ ป่า ส่วนใหญ่เป็นใบเดี่ยว หรือใบประกอบแบบขนนก บ้าง กลุ่มอับสปอร์เรียงเป็นแนวยาวไปตามเส้นใบทั้งสอง ข้างของก้านใบ เท่าที่พบมี :- Asplenium confusum Tard. & Ching กระปรอกหางแมว, A. crinicaule Hance, A. ensiforme Wall. ex Hook. & Grev. ดาบวรประทีป, A. grevillei Wall. ex Hook. & Grev., A. nidus L. ข้าหลวงหลังลาย, A. nitidum Sw. แววภัชรินทร์, A. phyllitidis D. Don หลังลายใบหอก, A. salignum Blume, A. tenerum G. Forst. กูดสอนแพง

 

 

   

 

Athyriaceae วงศ์กูดกิน เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู เหง้าสั้น หรือทอเลื้อยสั้น ๆ พบตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ริมแหล่งน้ำ ในป่าดิบชื้นเป็นส่วนใหญ่ ใบประกอบแบบ ขนนก 1-3 ชั้น อาจมีใบเดี่ยวบ้าง กลุ่มสปอร์เรียงเป็น แนวคู่ขนานสองข้างของเส้นแขนงใบย่อย เท่าที่พบมี : -Diplazium bantamense Blume, D. silvaticum (Borg) Sw.

     
                Blechnaceae วงศ์กูดเกี๊ยะ เป็นพืชที่มีเหง้าหรือ ลำต้นโตค่อนข้างสูงดูคล้ายพวกปรง หรือปาล์มบางชนิด พบตามพื้นดินที่มีการระบายน้ำได้ดี ตามป่าดิบแล้ง ใบประกอบแบบขนนก กลุ่มสปอร์ เรียงติดเป็นเส้น

                Cyatheaceae วงศ์เฟินต้น เป็นพืชที่มีลำต้น อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ดูคล้ายปรงหรือปาล์มบางชนิด พบตามที่ลาดชันแต่ใกล้แหล่งน้ำในป่าดิบชื้น กลุ่มสปอร์รวมเป็นกระจุกกลมเรียงเป็นแถวสองข้าง ของเส้นใบย่อย กระจุกสปอร์ไม่มีเยื้อหุ้ม มี :- Cyathea podophylla  (Hook.) Copel. มหาสดำ

Dicksoniaceae วงศ์ว่านลูกไก่ เป็นพืชที่มีเหง้า มีลำต้นสูงขึ้นมาไม่มากนัก ช่อใบเรียงเวียน ยาวได้ถึง 1.5 เมตร ตามลำต้นมีขนยาวสีทองหนาแน่นพบตามชายป่า ดิบชื้น ใบแบบขนนก 2 ชั้น สปอร์เดี่ยว เรียงเป็น แนวชิดขอบหรือพูใบย่อย มี :-  Cibotium barometz (L.) J. Smith ว่านไก่น้อย, ระอองไฟฟ้า ขนสีทองใช้ใส่ แผลสด

Davalliaceae วงศ์กูดนาคราช เป็นพืชที่มี ลำต้นทอดไปตามดินหรือหิน ลำต้นแข็งคล้ายลวด มักมีขนและเกล็ดหนาแน่น พบตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบ เชิงผา สปอร์เดี่ยวรูปรีหรือกลม อยู่ตามบริเวณขอบของ ใบย่อย แผ่นใบค่อนข้างหนา ใบแยก 1-3 ชั้น มี :- Davallia denticulata (Burm. f. ) Mett. ex Kuhn นาคราช, D. solida (G. Forst.) Sw. พญานาคราช, D. trichomanoides Blume นาคราช; Pachypleuriarepens (L. f.) M. Kato กูดฮ่อมใบย่อย

 


Pachypleuria repens Cephalomanes javanicum Lindsaea heterophylla Lindsaea lucida
 

               Dipteridaceae วงศ์บัวแฉก เป็นพืชที่มีเหง้า และไหลใต้ผิวดินชูก้านใบขึ้นมาสูงได้ถึง 1 เมตร ปลายก้านเป็นแผ่นใบแผ่เป็นวงกว้างคล้ายใบบัว แต่ปลายขอบแยกเป็นแฉก เป็นริ้ว ห้อยลง พบตามแหล่ง ที่ค่อนข้างจำกัดตามชายป่าดิบรวมกันเป็นกลุ่มๆ สปอร์รูปทรงกลมสีเหลืองอ่อน กระจายไม่เป็นระเบียบ ทางผิวใบด้านล่าง อาจจัดอยู่ในกลุ่มพืชหายาก มี :- Dipteris conjugata Reinw. บัวแฉก

Lindsaeaceae วงศ์กูดหางนกยูง พืชมีเหง้าเป็น ไหลยาวแล้วแทงลำต้นตั้งขึ้นมาจากผิวดิน หรือเป็นเถาบ้าง พบตามป่าดิบชื้น ดิบแล้งทั่ว ๆ ไป ลำต้นและกิ่งมักออกสีน้ำตาลคล้ำ ใบแบบขนนก 2-3 ชั้น หรือบางทีเป็นใบเดี่ยว สปอร์มักติดเป็นเส้นหรือเป็นสัน ตามขอบหรือเป็นท่อนๆ หรือเดี่ยว เรียงตามขอบหรือ มุมหยัก ของขอบใบ มี :- Lindsaea chienii Ching กูดหางนกยูง, L. cultrata (Willd.) Sw., L. doryphora K.U. Kramer กูดหางนก, L. ensifolia Sw., L. heterophylla Prent. เฟินพริ้งพิมพ์, L. malayensis กูดรุ่งแสง, L. orbiculata (Lam.) Mett.; Sphenomeris chinensis (L.) Maxon var. chinensis; Tapeinidium pinnatum (Cav.) C. Chr.