-1-

 

หน้า  1    2  

 
 
   

          หอยทาก สัตว์โบราณขนาดเล็กที่มีกำเนิดมาเป็นเส้นทางกึ่งกลางให้เกิดวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่อยู่ในลำดับสูงกว่าเกิดขึ้นได้ ในเวลาเดียวกันจำนวนที่มีหลากหลาย ในถิ่นอาศัยแทบทุกประเภท ทำให้มีบทบาทในระบบนิเวศใกล้เคียงกับแมลงทั้งหลาย เนื่องจากการเคลื่อนที่ที่ช้ากว่าแมลง ทำให้การถ่ายทอดพันธุกรรมมีรูปแบบเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะหอยที่อยู่ตามเกาะถูกตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลานาน และทะเลก็เป็นกำแพงธรรมชาติที่ขวางกั้นการแพร่กระจาย ดังนั้นเรื่องราวหลายอย่างของวิวัฒนาการในอดีต อาจไขความลับได้จากหอยทากี่ติดอยู่บนเกาะนั่นเอง

 

หอยทาก สัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ราวๆ เกือบสี่ร้อยล้านปีที่ผ่านมา เกิดหลังจากแมลงสาบโบราณเพียงเล็กน้อย หอยทากเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งอดีตราวศตวรรษที่ 15  คนยุโรปรู้จัก " The Roman Edible Snail " Helix pomatia  Linnaeus,  1758  คนยุโรปนิยมบริโภคหอยทากชนิดนี้มาช้านาน ขนานนามว่า "Escargot" แม้ในปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในภัตตาคารชั้นสูง  จนปริมาณไม่เพียงพอแก่ความต้องการ ในเรื่องศรกามเทพ (cupid's arrow) นั้นเชื่อว่ามีที่มาจากพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของหอยทากชนิดนี้ ในสภาพธรรมชาติแล้วหอยทากนั้นเกิดมาเป็นเส้นทางให้เกิดวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่าเกิดขึ้นได้ เป็นอาหารให้กับสัตว์นานาชนิด นับตั้งแต่สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ได้แก่ สัตว์ฟันแทะ ชะมด อีเห็น รวมทั้งลิง หอยทากเองก็บริโภคอาหารที่หลากหลาย ได้แก่ ใบไม้ สาหร่าย ไลเคนส์ รวมถึงเชื้อราที่อยู่ตามซากใบไม้ทับถม หอยทากแพร่พันธุ์เข้าไปอาศัยอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยแทบทุกประเภท ทำให้บทบาทในระบบนิเวศใกล้เคียงกับแมลงทั้งหลาย เพียงแต่ว่าหอยทากเคลื่อนที่ช้า มีพื้นที่จำกัดกว่าแมลง
         ดังนั้นในราว 8,000 กว่าปีที่ผ่านมา ในยุคน้ำทะเลขึ้นครั้งสุดท้าย จนถึงระดับปัจจุบัน ทำให้พื้นที่หลายแห่งบนพื้นดินกลายเป็นเกาะแก่งมากมาย รวมทั้งอ่าวไทยก็เปิดขึ้น เช่นเดียวกับทะเลอันดามัน เกาะเล็ก เกาะใหญ่หลายแห่งเกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตบนเกาะถูกตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่นับแต่นั้นมา พันธุกรรมก็ถูกตัดขาดเช่นกัน โดย

แผนที่บริเวณเกาะต่างๆ ในบริเวณหมู่เกาะ
ในอ่าวสัตหีบ และอ่าวพัทยา

 

เฉพาะหอยทากนั้นทะเลคือกำแพงกั้นการแพร่กระจาย ทำให้หอยทากอยู่ในสภาพถูกปล่อยเกาะอย่างสิ้นเชิง การศึกษาในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่เกาะต่างๆ ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539  ได้พบเรื่องราวที่เป็นข้อมูลให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน ได้แก่ หอยมรกต Amphidromus classiarius  พบประชากรเวียนซ้ายทั้งหมดบนเกาะตาชัย ทะเลอันดามัน  หอยมรกตนี้มีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงไปจาก  หอยนกขมิ้น  Amphidromus atricallosus  ที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ ด้วยปัจจัยจำกัดบนเกาะขนาดเล็กทำให้ลักษณะของเปลือกหอย ฟัน และอวัยวะภายใน มีความแตกต่างจากหอยนกขมิ้นเป็นหอยต่างชนิดในเวลาไม่กี่พันปี

          หอยลายตอง  Amphidromus schomburgki   ที่พบบนเกาะกรูด มีความคล้ายคลึงกับประชากรเขาเขียว ชลบุรี เขาใหญ่ นครราชสีมา และภูล้อมข้าว จังหวัดสกลนคร  หอยชอคโกแลต  Amphidromus inversus   ที่พบเกือบทุกเกาะในหมู่เกาะแสมสารและเกาะใกล้อ่าวพัทยา พบลัษณะสัณฐานวิทยาของเปลือกแตกต่างจากหอยบนเกาะสมุย และของประเทศสิงคโปร์ หอยบนเกาะเหลื่อม เกาะไผ่ และเกาะริ้น ยังคงมีจำนวนมาก และดูเหมือนว่ายังคงดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ  ในขณะที่บนเกาะกลึงบาดาล เกาะมารวิชัยนั้น หอยชอคโกแลตอาจสูญพันธุ์ไปจากเกาะทั้งสองแล้ว การสำรวจครั้งล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 นั้น ไม่พบหอยที่มีชีวิตบนเกาะทั้งสอง พบแต่เปลือกเก่าๆ ที่กำลังสลายตัว ในหมู่เกาะแสมสาร ยังคงพบหอยชอคโกแลตที่ยังมีจำนวนมากในหลายเกาะ เช่น เกาขาม เกาะจวง เกาะจาน พบเล็กน้อยบนเกาะแสมสาร
          หอยทากสยาม 
Cryptozana siamensis   บนเกาะไผ่ เกาะมารวิชัย มีลักษณะสัณฐานวิทยาที่ต่างจากหอยบนแผ่นดินใหญ่เป็นอย่างมาก เนื่องจากหอยชนิดนี้กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่ ใบไม้ ต้นไม้ ซากใบไม้ (กินเชื้อราและเห็ดบนใบไม้นั่นเอง)  ทำให้พบหอยบนเกาะมีขนาดใหญ่กว่าหอยบนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากมีอาหารหลายแบบ และมีสัตว์อื่นๆ ที่แย่งอาหารน้อยกว่า และมีข้อสังเกตพบว่าอาจมีลักษณะเผือก (albion) ในหอยทากสยามบนเกาะ ขณะนี้กำลังทำวิจัยเปรียบเทียบหาระยะห่างทางพันธุกรรม (genetic distance) ระหว่างหอยบนเกาะกับหอยบนแผ่นดินใหญ่  ซึ่งจะได้รายงานผลการศึกษาในโอกาสต่อไป
          กรณีของหอยทากจิ๋ว (
micro land snails) ได้พบลักษณะต่างๆ ของหอยบนเกาะที่แสดงให้เห็นว่า หอยบนเกาะที่แยกออกมาจากแผ่นดินใหญ่หลายพันปีแล้ว ได้แยกตัวออกอย่างสิ้นเชิงถึงระดับพันธุกรรมเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ (speciation) เช่น หอยทากจิ๋วเกาะริ้น  Gyliotrachela kohrin  มีความใกล้ชิดกับสปีชีส์ที่อยู่ใกล้เคียงแถบแนวหินปูน อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี และแนวหินปูน จังหวัดสระบุรี และหอยทั้งสามพื้นที่เป็นสปีชีส์ที่แตกต่างกัน หลังจากวิเคราะห์สายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ ด้วยยีน 16S rDNA และ 28S rDNA

 

 

หอยมรกต
Amphidromus classiarius
 

หอยนกขมิ้นลาย
Amphidromus atricallosus

 

จากหนังสือ  จากยอดเขาถึงใต้ทะเล ธรรมชาติแห่งชีวิต ที่ต้องเรียนรู้..ใช้ประโยชน์..และสร้างจิตสำนึก โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

อ่านหน้าต่อไ