ตามที่คุณสมาชิกใหม่ได้สอบถาม เกี่ยวกับ  
Concept   หรือว่ารายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงาน ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจครับ อยากนำมาเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และนำมาทำความเข้าใจกับคุณครู   ข้อมูลเพิ่มเติมการจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการทุก  ๒  ปีของ อพ.สธ. นายมะเกี๋ยง ได้ตอบให้เห็นถึงการประชุมวิชาการนิทรรศการทุก 2 ปี   ซึ่งการก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจนั้น  จะต้องเข้าใจเห็นภาพรวมของ อพ.สธ.

 

ปี 2543 ประชุมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งแรกที่อาคารสารนิเทศ 50 ปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการประชุมแสดงให้เห็นถึงการนำสื่อต้นไม้และสิ่งธรรมชาติรอบๆตัวมาเป็นสื่อการเรียนการสอนได้ ตามที่สมเด็จพระเทพ  รัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราโชวาทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2540 ว่า “  เคยแนะนำโรงเรียนต่างๆ   นอกจากพืชพรรณแล้ว    สิ่งที่มีในธรรมชาติ สิ่งที่หาได้ง่าย อาจเป็นอุปกรณ์สอน   ได้หลายอย่าง แม้แต่วิชาศิลปะก็ให้มาวาด รูปต้นไม้   ก็ไม่ต้องหาของอื่นมาเป็นแบบ  หรือเรื่องภาษาไทย การเรียงความ ก็อาจทำให้เรื่องของการเขียนรายงาน   ทำให้หัดเขียนหนังสือ หรืออาจแต่งคำประพันธ์ ในเรื่องพืชเหล่านี้ “



ปี 2544 เรื่อง “ทรัพยากรไทย : อนุรักษ์และพัฒนาด้วยจิตสำนึกแห่งนักวิจัยไทย”  จัด ณ ศาลาพระเกี้ยวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร   เป็นการแสดงให้เห็นถึงการรวบรวมคน หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ  ขณะนั้นมีอยู่ประมาณ 40
กว่าหน่วยงาน แนวคิด การจัดนิทรรศการครั้งนี้ คือ  ทรัพย์สยามมากมี  ปฐพีมีค่าอนันต์  ของขวัญจากผืนน้ำ  ฟากฟ้าทะเลไทย  สมดุลที่ขาดขาย  แก้ไขคืนชีวิต  สร้างจิตสำนึก โดยใช้พื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่สนองพระราชดำริเป็นตัวแทน


ปี 2546 เรื่อง “ทรัพยากรไทย : ธรรมชาติแห่งชีวิต” จัด ณ สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า กรุงเทพมหานคร
 เป้นเรื่องของชีววิทยา  วงจรชีวิต ของชีวภาพต่างๆ  ซึ่งในปี2546 มีโรงเรียนที่นำเสนอพืชทั้งหมด 112
ชนิด บางพืชไม่ปรากฎในตำรา เนื่องจากเป็นพืชเฉพาะถิ่น  และนักเรียนสามารถที่จะศึกษาได้อย่างละเอียด


ปี 2548 เรื่อง “ทรัพยากรไทย : สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว” จัด ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ. คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นเรื่องของระบบนิเวศ ที่กายภาพและชีวภาพมีความสัมพันธ์กันหมด  ในปี 2548 ได้ขยายการจัดประชุมและนิทรรศการในส่วนของเกษตรกรด้วย โดยมีสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและเครือข่ายมาร่วมจัด

 
ปี 2550 เรื่อง “ทรัพยากรไทย : ประโยชน์แท้แก่มหาชน”
 จัด ณ บริเวณพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย  เขาหมาจอ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี  ประโยชน์แท้แก้มหาชนเป็นการศึกษาจนเห้นศักยภาพ จากการไปสัมผัสทรัพยากรชีวภาพ หรือทรัพยากรกายภาพใด  ให้พิจารณารูปลักษณ์  วิเคราะห์พฤติกรรมหรือการตอบสนองจากปัจจัย จินตนาการคุณสมบัติ  จนเห็นศักยภาพ จินตนาการให้เห็นคุณหรือประโยชน์ ที่เป็นประโยชน์แท้ สรรสร้างวิธีการ ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม หรือคติธรรม หรือภูมิปัญญาโลกาภิวัตน์ ในกรณีประโยชน์แท้แก่มหาชน ยังเป็นแผน


ปี2552 เรื่อง “ทรัพยากรไทย : ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย” จัด ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
แนวคิดการประชุมวิชาการนิทรรศการครั้งนี้ คือ นวัตกรรมที่มีคุณธรรมกำกับ  การผันสู่วิธถีใหม่นั้นเป็นการคิดใหม่ มีพฤติกรรมใหม่ ความร่วมมือกันใหม่ๆ  ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย ต้องวิเคราะห์ฐานไทย วิเคราะห์ฐานชุมชน  จนเป็นศักยภาพ และนำศักยภาพไปพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ พันธุ์พืชใหม่ วิธีการใหม่  ซึ่งจำเป้นต้องมีคุณธรรมกำกับ ในที่นี้ใช้พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวกำกับ ที่ต้องทำด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีเงื่อนไข ความรู้และคุณธรรม กำกับ

         ตัวอย่างนวัตกรรม

         สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ และนำสู่นวัตกรรมองค์กร

         สวนพฤกษสาสตร์โรงเรียนมีศักยภาพ

         อำนาจแฝง  การสนองพระราชดำริ

         คุณสมบัติแฝง = วิชาการ กลุ่มสาระต่างๆ 8 กลุ่มสาระ เช่นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ฯลฯ

                               นำไปสู่การสร้างนักวิทยาศาสตร์  นักประดิษฐ์  ศิลปากร  กวี นักตรรกศาสตร์ ปราชย์น้อย

         พฤติกรรมแฝง คุณธรรม  ความรับผิดชอบ ความซื่อตรง  ความอดทน  ความเพียร  ความสามัคคี   ความ

                                 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ฯลฯ

 

ปี 2554 เรื่อง “ทรัพยากรไทย : ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ”   ที่จะจัดขึ้นที่ ศูนย์ฝึกหนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 19 – 25 ตุลาคม 2554  สำหรับแนวคิด ในเรื่องนี้คือ การมีเครื่อข่าย เต็มประเทศ และความเป็นมาตรฐานสากล

              การมีเครือข่าย  เนื่องจากในปัจจุบัน อพ.สธ.มีหน่วยงานที่สนองพระราชดำริ ทั่วประเทศ 94 หน่วยงานโรงเรียนที่เป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มากกว่า 1,400 โรงเรียน และในแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่ห้า

( ตุลาคม 2554 – กันยายน 2559 ) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานแนวทางการจัดทำแผนแม่บท การทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยมีโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกศาสตร์โรงเรียนเป็นกำลัง เนื่องจากในปี 2540 ทรงมีรับสั่งว่า “ ให้รู้ว่าข่างๆโรงเรียนมีอะไร ต้นไม้ชื่ออะไร เป็นอะไร “ คือการไปสัมพันธ์กับชุมชน  และในปี 2548 ได้ไปกับสมศ. (สำนักมาตรฐานการศึกษา) มา เห็นว่าโรงเรียนยังสัมพันธ์กับชุมชนน้อย ทำอย่างไร ให้ชุมชนมาให้โรงเรียน โดยเฉพาะนักเรียน  ช่วยในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  และให้มีการทำ DNA Fingerprint ในโรงเรียน   โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมา จากพระราชดำริฯ ได้พิจารณาแล้วปฏิบัติ ทำความเข้าใจกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อันได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด  องค์การบริหารส่วนตำบล  ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลถือเป็นหน่วยบริหารประเทศที่เล็ก ที่สุด ที่ต้องดูแลการศึกษา  ดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  ดูแลประโยชน์สุขของชุมชน  และมีภาระกิจในการทำแผนพัฒนาเกษตรของชุมชน  ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องทราบในเรื่องข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลชีวภาพ  เศรษฐกิจสังคม ศักยภาพชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำภิปัญญานั้นไปพัฒนาต่อยอด เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำให้เป็นมาตรฐานสากล   ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ไม่มีบุคลากร  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องประสานกับชุมชนและโรงเรียน   เมื่อพิจารณาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551  จะเห็นได้ว่าในสาระวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะต้องทราบในเรื่องทรัพยากรในท้องถิ่น และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น นั่นคือจะต้องมีภูมิปัญญามากำกับการใช้ประโยชน์ เช่นพืชผักพื้นเมือง  พืชสมุนไพร  และยังสามารถบูรณาการไปยังกลุ่มสาระสังคม  สิ่งแวดล้อม  ดังนั้นความเป็นเครือข่ายทั่วประเทศจะเกิดขึ้นตามแผนภาพ

                  

  

 

           ความเป็นมาตรฐานสากล นั้น ทรงมีรับสั่งว่า  “งานในโลกปัจจุบันนี้ ทำอะไรก็รู้สึก เรื่องการรักษามาตรฐานนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าต่อไปงานนี้ เราอาจจะไม่ใช่จำกัดอยู่แต่ภายในประเทศ  อาจจะต้องมีการติดต่อไปถึงประเทศอื่นด้วย เป็นการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศเพราะฉนั้น จะต้องมีการทำงานในลักษณะที่คนอื่นยอมรับได้” ดังนั้น งานของ อพ.สธ. าจำเป็นต้องมีมาตรฐาน มีคู่มือในการทำงาน  ผลงานมีงานวิจัยหรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รับรอง เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความมั่นใจในงานที่คนอื่นยอมรับ   ซึ่งจะนำไปสู่การประชุมวิชาการนิทรรศการ ปี 2556

 

ปี 2556  ประชุมวิชาการนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : นำสิ่งดีงามสู่ตาโลก  ที่จะจัดที่เขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  อำเภอศรีสวัสดิ์  จังหวัดกาญจนบุรี  ซึ่งเราจะเห็นว่าที่ผ่านมาเรามีฐานที่ดีตั้งแต่ ปี 2543 - 2554   ทั้งด้านธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ประโยชน์แท้แก่มหาชน  ผันสู่วิถีใหม่ในฐาน โดยเฉพาะในปี 2554 ก้าวสุ๋โลกกว้างอย่างมั่นใจ  ที่เรามีฐานที่ดี  มีเครือข่าย มีมาตรฐาน  ก็พร้อมที่จะนำสู่ตาโลก ไปนำเสนอที่ใดก็ได้  หรือใครๆก็อยากจะมาดูผลงานเรา   

 

             เป็นภาพรวมของงาน อพ.สธ. ที่ทุกสองปีมีการประชุมวิชาการนิทรรศการ โดยมีแนวคิดของแต่ละครั้งเนื่องต่อกันมาโดยตลอด

 

พรชัย จุฑามาศ           

ย้อนกลับ | กลับหน้าหลัก