ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


 

 



ข้อมูลทางด้านอนุกรมวิธาน มะกอกโอลีฟจัดอยู่ในอันดับ Ligustrais วงศ์ Oleaceae ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับ Janminum (Jasmin), Phillyrea, Ligustrum(privet), Syringa (lilac),Fraxinus (ash), Fontanesia และ Olea (olive)
          พันธุ์มะกอกที่จัดอยู่ในชนิด (species) Olea มีอยู่ 30 สายพันธุ์ด้วยกัน และพบอยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆ บนโลกเรานี้ ในจำนวนนี้รวมมะกอกโอลีฟอยู่ด้วย ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Olea europaea L. สามารถจำแนกออกเป็นสองลำดับย่อยสปีชีส์ (sunspecies) ด้วยกัน คือ: oleaster ( wild olive tree) และ sativa ( olive )
          จากข้อมูลล่าสุด  Cifferi และ Chevalier เสนอให้มีการใช้ปัจจัยใหม่ๆ ในการจำแนกพันธุ์มะกอกโอลีฟตามหลักทางภูมิศาสตร์ โดยแบ่งตามลำดับย่อยของสปีชีส์ และสายพันธุ์มะกอกโอลีฟหรือ Olea europaea L. ไว้ดังนี้
          * Euro-Mediterranean subspecies:
          - Sativa group ( O.sativa Hoffm and Link )
          - Oleaster group ( O.loeaster Hoffm and Link )
          สายพันธุ์นี้ให้ลูกมะกอกที่มีเนื้อหนา มีปริมาณน้ำมันสูง และลักษณะดออกออกเป็นช่อ
          * Laperrini subspecies : พบอยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของโมร็อกโกจนถึงไซรีไนกา (ลิเบียด้านตะวันออก) ให้ลูกมะกอกที่มีขนาดเล็ก ปริมาณน้ำมันน้อย และไม่อาจนำมารับประทานได้
          * Cuspidata subspecies: เป็นสายพันธุ์ที่เกิดเองตามธรรมชาติในเทือกเขาหิมาลัย รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ในทวีปเอเซีย ให้ลูกมะกอกที่มีขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำมันน้อย และมิได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง
          Chevalier เชื่อว่า  oleaster เป็นพันธุ์มะกอกที่เกิดการกลายพันธุ์เพราะถูกนำมาเพาะปลูก จากการตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อใดที่ถูกปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ ลักษณะของพืชป่าจะปรากฎ และลูกมะกอกก็มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นอีกด้วย เขาจึงพิเคราะห์แล้วว่ามะกอกโอลีฟทั้งสองพันธุ์ควรจัดอยู่ในกลุ่มของ sativa เหมือนๆ กัน

ต้นมะกอกโอลีฟที่โตเต็มที่มีระบบรากที่แผ่กระจายและตื้น เป็นรากซึ่งงอกออกมาจากส่วนล่างของลำต้น ความลึกของการหยั่งรากขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน ในพื้นที่ดินร่วนซุย รากสามารถหยั่งได้ลึกตั้งแต่ 10.15 ถึง 80 ซม. ความเติบโตตามแนวกว้างของต้นพืชนั้นจะเป็น 2-3 เท่าของรัศมีของส่วนยอดสุด โดยมีความสัมพันธ์ของระยะห่างของต้นพืชเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
          ลำต้นของมะกอกโอลีฟ จะมีลักษณะเป็นเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับการตัดแต่งเป็นสำคัญ เช่น เกี่ยวข้องกับการอนุบาลต้นไม้ และอุปกรณ์ที่ใช้ เป็นต้น ในพื้นที่หลายส่วนของประเทศสเปน พบว่าต้นมะกอกมีลักษณะที่ขึ้นเป็นกอ ในขณะที่ต้นมะกอกในประเทศอื่นๆ เกือบทั้งหมดเป็นลำต้นเดี่ยว ส่วนความสูงของต้นมะกอกนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การตัดแต่งกิ่ง กิ่งตอนที่นำมาปลูก และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีส่วนทำให้ความสูงของต้นมะกอกแตกต่างจากกันราว 1-2 เมตร ลำต้นของต้นมะกอกขณะที่ยังเล็กจะมีลักษณะเป็นลำต้นตรงมากกว่า ในณะที่ต้นมะกอกที่โตกว่ามีกิ่งก้านแตกใหญ่ดูคล้ายกับว่ามีกลุ่มกอที่ขึ้นอยู่รวมกัน

กิ่งใหญ่จะแยกออกจากลำต้น และแตกกิ่งก้านสาขาออกไปความหนาแน่นของกิ่งใบขึ้นอยู่กับการจัดวางผังในพื้นที่เพาะปลูกความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำ รวมทั้งการตัดแต่งกิ่ง ลักษณะกิ่งอ่อนของต้นมะกอกโอลีฟจะเป็นกิ่งเล็ก มีใบแน่นเป็นมัน เป็นประกอบที่เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม มีรูเปิดเล็กๆ ที่อยู่ใต้ใบเพื่อช่วยควบคุมการคายน้ำ ส่วนในเรื่องขนาดของใบ สีสันและการเรียงตัวนั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ ตำแหน่งของตาใบและตาดอกจะอยู่ตรงหูใบ
          ช่อดอกซึ่งแตกออกมาจากตาอ่อนเมื่อปีกลายจะค่อยๆ ฟอร์มตัวเป็นช่อดอกที่มีก้านยาว ในแต่ละช่อมีตั้งแต่ 11 - 23 ดอก กลีบดอกมะกอกมีสีขาว เรียงกันเป็นสี่กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นทรงกระเปาะ ขนาดสั้น และมีสีเขียวอ่อน เกสรตัวผู้ทั้งสองอันมีก้านชูสั้นและรังไข่ที่อ้วนหนา มีอับละอองเรณูซึ่งเก็บละอองเกสรไว้มากมายอยู่ภายใน ; ส่วนที่คอยดักจับละอองเกสรมีลักษณะเป็นสองแฉกและมีขนอ่อน เมื่อเกิดการผสมพันธุ์ขึ้นในโพรงเกสรตัวเมียทั้งสองอัน ซึ่งภายในโพรงนี้มีถุงรังไข่แยกออกจากกัน โดยในแต่ละเซลล์จะมีเซลล์ไข่อยู่สองเซลล์ เซลล์ที่ได้รับการผสมแล้วจะฟักตัวเป็นผลเมล็ดเดี่ยวหรือโมโนสเปิร์ม ดอกมะกอกมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ซึ่งสามารถจะผสมกันและให้ผลให้เมล็ดต่อไป บางครั้งดอกมะกอกก็อาจจะไม่มีเกสรตัวเมีย จึงไม่ติดผลหรือบางดอกอาจจะไม่มีเซลล์ไข่ หรือเกสรตัวผู้ไม่สมบูรณ์ ผลมะกอกที่ได้ก็จะแกร็นและไม่สมบูรณ์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม มีลูกมะกอกเพียง 2-3 เปอร์เซนต์ เท่านั้นที่มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวได้
          ลูกมะกอกมีเมล็ดในเดี่ยว และมีรูปทรงค่อนข้างกลม อาจจะกลมน้อยหรือกลมมากแตกต่างกันไป ส่วนขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ลูกมะกอกประกอบด้วยส่วนของเปลือกชั้นนอก ซึ่งสีจะเปลี่ยนไปเมื่อผลสุก เนื้อมะกอกเป็นส่วนที่มีปริมาณน้ำมันมากที่สุด ส่วนเมล็ดในของลูกมะกอกเป็นเมล็ดที่แข็ง ลักษณะยาว และมีตุ่มอยู่ตรงส่วนบนของเมล็ด ห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ด้านใน ซึ่งพบว่ามีทั้งคัพภะ (embryo)
และโภชนาสาร