น้ำมันมะกอกและคุณประโยชน์

 
<<back

 next >> 

          
              ประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร          
          จากผลงานของ
Charbonnier กล่าวไว้ว่า น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันชนิดที่ทนทานต่อกระเพาะได้มากที่สุด เนื่องจากมีกรดโอเลอิคอยู่ในปริมาณสูง
          กล้ามเนื้อส่วนที่เรียบของหูรูดซึ่งแยกออกจากกระเพาะและหลอดอาหาร ซึ่งขัดขวางต่อการไหลย้อนของน้ำย่อยแกสตริกจูซ ( gastric juices) นั้น จะลดอาการลงได้ด้วยน้ำมันมะกอก ส่วนไขมันเนยเป็นไขมันที่ทนทานต่อกระเพาะได้น้อยที่สุด และน้ำมันเมล็ดทานตะวันทนได้ในระดับปานกลาง ซึ่งถ้าเป็นช่วงเวลาที่น้ำย่อยแกสตริกไม่เกิดการสะสมแล้ว คุณสมบัติในการทนทานต่อกระเพาะของไขมันทั้งสามชนิดดังกล่าวจะเท่าเทียมกัน
          กล่าวกันแต่เดิมมาว่าน้ำมันมะกอกมีผลในกาช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ( hyperchiorohydric gastritis) และอาการอักเสบที่กระเพาะและลำไส้ตอนต้น ( gastroduodenal ulcers) ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติในเชิงป้องกันโรค จากการทดลองโดยการเปลี่ยนน้ำมันมะกอกแทนไขมันสัตว์ในอาหารของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ปรากฎว่าคนไข้จำนวน 33 % สามารถลดอาการของบาดแผลลงได้ และอีก 55% ก็ลดการรักษาที่ทำให้เกิดแผลเป็นได้อีกด้วย ( cicatrization) อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันมะกอกในการช่วยบำบัดนั้นก็มิได้หมายความว่าจะงดการรักษาด้วยยาอย่างสิ้นเชิง

          ประโยชน์ต่อลำไส้
         
น้ำมันมะกอกสัก 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานในตอนเช้าตอนกระเพาะว่าง จะเป็นผลดีสำหรับในรายที่เป็นโรคท้องผูกเรื้อรัง
           
ประโยชน์ต่อระบบน้ำดี
         
น้ำมันมะกอกเป็นผลดีอย่างมากต่อการอ่อนแอของถุงน้ำดี เนื่องจากน้ำมันมะกอกจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่รวดเร็ว นุ่มนวลและเนิ่นนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยาและอาหารอื่นๆ ทั้งหลายที่ใช้รักษาอาการดังกล่าว น้ำมันมะกอกจะช่วยยับยั้งการหลั่งน้ำดีจากตับ ( hepatobiliary secretion ) ในระหว่างที่ถุงน้ำดีไม่เกิดการสะสม จึงทำให้ได้น้ำดีที่บริสุทธิ์และมีคุณสมบัติทางยา ความรู้เหล่านี้เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาลและในปัจจุบัน ผลจากการศึกษาวิจัยมากมายที่ปรากฎขึ้นก็เป็นสิ่งยืนยันในคุณสมบัติเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี



 

 

          โรคนิ่วน้ำดี ( Cholelithiasis ) เป็นโรคที่เป็นกันมากในปัจจุบัน อันมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากกระบวนเมตาบอลิซึ่มของไขมันและเป็นโรคที่เป็นกันมากในประเทศพัฒนาแล้ว โรคนี้เกิดจากภาวะโภชนาที่ล้นเกิน โดยเฉพาะเกิดการสะสมของไขมันอิ่มตัวและคอเเลสเตอรอล การหลั่งน้ำดีเพื่อเร่งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจึงเพิ่มสูงขึ้น และทำให้เกลือน้ำดีและเลคซิตินลดต่ำลง ระดับคอเลสเตอรอลในพลาสมาจึงเพิ่มขึ้นตามมา จนเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดหินปูน เนื่องจากคอเลสเตอรอลที่เพิ่มสูงขึ้นในเวลาเดียวกันนั้นเกิดการนำพาโดยลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ ( LDL- low density lipoproteins ) ซึ่งขัดขวางต่อการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ อีกประการหนึ่งคือ คอเลสเตอรอลที่เกิดจากการนำพาของโพลีโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง ( HDL - high density lipoproteins) จะเกิดกระบวนการเมตาบอลิซึ่มในเกลือน้ำดีได้ง่ายกว่าส่วนที่หลั่งออกมากับน้ำดี ในการรักษาคนไข้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง จะต้องลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในพลาสมาให้ต่ำลง โดยกระตุ้นให้กลไกของระบบน้ำดีช่วยกำจัดออกไป  ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จึงลงความเห็นว่าอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง และมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูง เป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งการก่อตัวของก้อนนิ่ว ในขณะที่อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงอย่างน้ำมันมะกอกจะไม่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่า น้ำมันมะกอกมีผลในเชิงป้องกันการก่อตัวของนิ่วน้ำดี เพราะน้ำมันมะกอกช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดี และทำให้ปริมาณ HDL เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีสัดส่วนที่สมดุลระหว่าง ไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน อีกทั้งยังมีปริมาณของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงอีกด้วย Messini และ Cailella ได้ทำการพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้คนที่อยู่ในอิตาลีซึ่งมีอัตราการบริโภคน้ำมันมะกอกสูงกว่าที่อื่นๆ นั้น พบว่าเป็นนิ่วน้ำดีต่ำ