โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา
โครงการปลูกพืชพรรณ
งานศึกษาทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ (Olea europaea L.) ในประเทศไทย


ที่มา

          มะกอกโอลีฟ (Olea europaea  L.) มีถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ประเทศแถบบอลข่าน แถบที่ราบสูงอิหร่าน ปาเลสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre๑ ต่อไปทาง Anatolio๑ ผ่าน Crete (ชื่อเกาะที่อยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ไปจนถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปทั่วบริเวณลุ่มแม่น้ำติดกับชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และจากการค้นพบทวีปอเมริกาการปลูกมะกอกโอลีฟจึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกาใต้ จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย อีกด้วย
          มะกอกโอลีฟ (Olea europaea  L.) เป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าชนิดหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย เช่น ผลเป็นส่วนสำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหารและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ซึ่งน้ำมันมะกอกโอลีฟถือว่าเป็นน้ำมันที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดี เนื่องจากมีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่และน้ำมันนวด ส่วนใบมะกอกโอลีฟใช้ในการปรุงอาหารและใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์ ในขณะที่ส่วนของกิ่งก้านและลำต้นมีมูลค่าสูงเนื่องจากลวดลายที่สวยงามและความคงทนของเนื้อไม้ใช้นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์
           จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปรารภกับ นายแก้วขวัญ วัชโรทัยเลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ถึงเรื่องมะกอกโอลีฟมีคุณค่าและประโยชน์ในหลายๆด้าน อีกทั้งมีพระราชกระแสกับหลายหน่วยงาน เช่น คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฯลฯ ในการนี้ เลขาธิการพระราชวัง ได้ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ศึกษาและดำเนินการทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ (Olea europaea  L.) ในประเทศไทยในส่วนของโครงการส่วนพระองค์ฯ

สถานภาพเกี่ยวกับมะกอกโอลีฟ (Olea europaea L.)ในประเทศไทย

โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลด

          เดือนกันยายน ๒๕๓๙ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ นายพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ฝ่ายวิชาการ และเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เดินทางไปดูงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ที่อุทยานแห่งชาติปอร์โครส์ (PORT-CROS) และศูนย์อนุรักษ์พรรณพืชแห่งชาติปอร์เกอร์รอลส์ (PORQUEROLLES) ประเทศฝรั่งเศส เป็นศูนย์รวบรวมและอนุรักษ์พืชพรรณในเขตเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีแปลงรวบรวมพันธุ์มะกอกโอลีฟประมาณร้อยกว่าพันธุ์ ในการนี้ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้วางแผนที่จะไปดำเนินการเก็บรวบรวมพันธุ์มะกอกโอลีฟในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ได้เดินทางไปดูการปลูกมะกอกโอลีฟในประเทศอิตาลี โดยประสานงานกับทางสถานทูตอิตาลีในประเทศไทย ซึ่งได้ไปดูเนอสเซอรี่ผลิตกิ่งพันธุ์มะกอกโอลีฟที่ VIVAI PIANTE A. BERTOLAMI, LAMEZIA TERME-ITALY
          ๗ มีนาคม ๒๕๔๐ เลขาธิการพระราชวัง ได้มอบหมายให้ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ดำเนินการศึกษาทดลองปลูกมะกอกให้ประสบผลสำเร็จ และอนุมัติให้จัดซื้อพันธุ์มะกอกโอลีฟจากประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นการดำเนินงานศึกษาทดลองของโครงการส่วนพระองค์ฯ
๒๐-๒๒ มีนาคม ๒๕๔๐ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร และนายพรชัย จุฑามาศ ได้เข้าร่วมสัมมนาเรื่องน้ำมันมะกอกโอลีฟ ที่ทางสหพันธ์น้ำมันมะกอกโอลีฟนานาชาติ (INTERNATIONAL OLIVE OIL COUNSIL-IOOC) ได้จัดขึ้นที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ซึ่งได้มีผู้อำนวยการสหพันธ์ฯ Dr.FAUSTO LUCHETTI และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องน้ำมันมะกอกโอลีฟ การประกอบอาหารด้วยน้ำมันมะกอกโอลีฟจากประเทศเสปนและอิตาลีมาบรรยายและสาธิต
          ๑๕-๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ได้ร่วมสังเกตการณ์ในการที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะกอกโอลีฟจากสหพันธ์น้ำมันมะกอกโอลีฟนานาชาติ มาดูความเป็นไปได้ในการปลูกมะกอกโอลีฟ (OLIVE) ในประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จังหวัดสกลนคร
          ๒๕-๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๐ Mr.Carmelo Bertolami เจ้าของเนอสเซอรี่ขยายพันธุ์มะกอกโอลีฟเดินทางมาดูพื้นที่ ที่สถานีทดลองเกษตรที่สูง เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการการพัฒนาและขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ บ้านโรงวัว จังหวัดเชียงใหม่
          ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ รับกิ่งพันธุ์มะกอกโอลีฟจากประเทศอิตาลี นำขึ้นไปปลูกรักษาที่เรือนเพาะชำ ศูนย์บริการการพัฒนาและขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จากนั้นเมื่อมะกอกโอลีฟเริ่มแตกและตั้งตัวแล้ว ก็จะจัดส่งไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ
เดือนกันยายน ๒๕๔๐ การประชุมร่วมกันระหว่าง กปร. โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกี่ยวกับการทดลองปลูกมะกอกโอลีฟในประเทศไทย
          ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ประชุมเรื่อง การศึกษาทดลองปลูกมะกอกโอลีฟและพัฒนาอุตสาหกรรมมะกอกโอลีฟในประเทศไทย ที่ห้องประชุมสำนักงานโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เพื่อกำหนดการดำเนินงานเรื่องมะกอกโอลีฟ ของโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา
           ๒๑ กุมภาพันธ์–๑ มีนาคม ๒๕๔๒ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร และ นายพรชัย จุฑามาศ ได้เดินทางไปดูงานเกี่ยวกับมะกอกโอลีฟในประเทศสเปน เนอสเซอรี่ของ Mr.Cruz และ นำต้นมะกอกโอลีฟจาก ประเทศสเปนกลับมาประเทศไทย
          ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ประชุมเรื่อง การศึกษาทดลองปลูกมะกอกโอลีฟในประเทศไทย โดย ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานในการประชุม ซึ่งได้จัดขึ้นที่ ห้องประชุม ๒๑๓ สถาบันวิจัยพืชสวน มีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
          ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒ ท่านเลขาธิการพระราชวังเป็นประธาน ในการประชุมมะกอกโอลีฟ เรื่อง การศึกษาทดลองปลูกมะกอกโอลีฟในประเทศไทย ณ ห้องประชุมสำนักพระราชวัง พระบรมมหาราชวัง โดยให้คำแนะนำว่าการปลูกมะกอกโอลีฟ จะต้องมีการตัดแต่งกิ่ง
๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๒ – ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๓ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ส่งนางสาวปิยวรรณ สัตย์ธรรม เจ้าหน้าที่โครงการฯ ไปอบรมและดูงานเกี่ยวกับเรื่องของมะกอกโอลีฟ ที่ประเทศสเปน โดยทางสเปนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายระหว่างการไปฝึกอบรม
          ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ การประชุมเกี่ยวกับการศึกษาทดลองปลูกมะกอกโอลีฟในประเทศไทย โดยมีท่านเลขาธิการพระราชวังเป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมสำนักพระราชวัง พระบรมมหาราชวัง
          ๒๕ กันยายน ๒๕๔๓ ประชุมรับทราบและพิจารณาแนวทางการปฏิบัติดูแลรักษา การจัดการ ปัญหาอุปสรรคของการปลูกมะกอกโอลีฟ โดยมีนายพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เป็นประธานในการประชุม ณ ศาลามหามงคล โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สวนจิตรลดา
          ๓๑ พฤศจิกายน – ๗ ธันวาคม ๒๕๔๓ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร และนายพรชัย จุฑามาศ เดินทางไปสำรวจเก็บรวบรวมพันธุ์มะกอกโอลีฟ ณ ประเทศโมร็อคโค
          ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ วันพืชมงคล นายไพศาล ชีวะศิริ ทูลเกล้าฯถวายเงินสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษาทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในปี ๒๕๔๓ - ๒๕๔๔ จำนวน ๒ ล้านบาท
          ๓ - ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร และนายพรชัย จุฑามาศ เดินทางไปสำรวจเก็บรวบรวมพันธุ์มะกอกโอลีฟ ณ ประเทศโมร็อคโค
          ๙ ธันวาคม ๒๕๔๔ สร้างอาคารไว้สำหรับเตรียมสกัดน้ำมันโอลีฟ เลขาธิการพระราชวัง นายแก้วขวัญ วัชโรทัย อนุญาตให้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในสวนอุไทยธรรม รังสิต จ.ปทุมธานี (พื้นที่ 56 ตาราางวา) ก่อสร้างอาคารเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทดลองสกัดน้ำมันโอลีฟ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ ขณะนี้ใช้เป็นเรือนเพาะชำมะกอกโอลีฟชั่วคราว
          ๑๘ เมษายน ๒๕๔๕ นำมะกอกโอลีฟไปปลูกในพื้นที่ของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง ที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พื้นที่ ๑๗ ไร่ จำนวน ๓๕๐ ต้น
          ๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ นำมะกอกโอลีฟไปปลูกในพื้นที่ของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง ที่ภูพิมานรีสอร์ท จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๒๐ ต้น
          ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ นำมะกอกโอลีฟไปปลูกในพื้นที่ของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง ที่ภูพิมานรีสอร์ท จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๘๕ ต้น

หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ในการทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ

ส่วนราชการ
- โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา
- ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา
- ศูนย์บริการการพัฒนาและขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (ศูนย์ฝึกโรงวัว จังหวัดเชียงใหม่)
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• วิทยาเขตบางเขน จังหวัดกรุงเทพฯ
• วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
• วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
• วิทยาเขตลพบุรี จังหวัดลพบุรี
• สถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
• สถานีวิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ จังหวัดนครราชสีมา
• สถานีวิจัยเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
• ภาควิชาพืชสวน
- กองทัพเรือ
• กองเรือยุทธการ : สวนอาภากร สัตหีบ จังหวัดชลบุรี
• กรมสวัสดิการทหารเรือ : ศูนย์กสิกรรมทหารเรือโยทะกา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด
• กองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- กรมวิชาการเกษตร
• สถานีทดลองพืชสวน จังหวัดเพชรบุรี
• ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
• สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ จังหวัดเลย
• สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
• สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย
- กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร
- สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง

ส่วนเอกชน
- บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน)
- สวนอุไทยธรรม ของ นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา
- พื้นที่ปลูกมะกอกโอลีฟ จังหวัดเชียงราย ของ นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา
- ไร่กิ่งทอง จังหวัดบุรีรัมย์
- พื้นที่ปลูกมะกอกโอลีฟ อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ของ นายศิริชัย มาโนช และคณะ

การดำเนินงานเรื่องมะกอกโอลีฟ (Olea europaea L.) ของโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อทดลองการปลูกมะกอกโอลีฟ(Olea europaea L.)ในประเทศไทย
๒. ศึกษาการเจริญเติบโตและวงจรชีวิตในประเทศไทยของมะกอกโอลีฟแต่ละพันธุ์
๓. คัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในประเทศไทยและการใช้ประโยชน์
๔. เป็นการคัดเลือกพันธุ์พืชเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตร

หลักการ
๑. ให้หน่วยงานราชการต่างๆรวมทั้งเอกชน เข้าร่วมสนองพระราชดำริ โดยร่วมกันทำงานใน
ลักษณะที่แบ่งงานกันทำตามศักยภาพที่ตนมีอยู่
๒. ให้พันธุ์มะกอกโอลีฟจากแหล่งพันธุ์ต่างๆทดลองปลูกอยู่ในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย
๓. สรุปประเมินผลขั้นต้นภายใน ๕ ปี และประเมินผลสุดท้ายในปีที่ ๑๐ นับแต่เริ่มดำเนินการ

แนวทางการดำเนินงาน
๑. อพ.สธ.จัดหา รวบรวม พันธุ์มะกอกโอลีฟจากแหล่งพันธุ์ต่างๆแล้วส่งมอบหรือขยายพันธุ์แล้วส่งมอบ ให้หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ
๒. กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลไทย จำกัด(มหาชน) นำพันธุ์มะกอกโอลีฟที่รับจาก อพ.สธ.ไปปลูกในพื้นที่ที่กำหนดและเก็บรวบรวมข้อมูลการเจริญและให้ผลผลิต โดยใช้แบบศึกษาเดียวกัน
๓. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ/หรือกรมวิชาการ เกษตรศึกษาคุณภาพน้ำมันมะกอกโอลีฟ แต่ละพันธุ์ที่ให้ผลผลิตในประเทศไทย
๔. ทุกหน่วยงานร่วมประเมินผลการดำเนินงาน และร่วมวางแผนขยายผลการศึกษาทดลองไปสู่การผลิต โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางเท่าที่เป็นไปได้

การดำเนินงานศึกษาทดลอง

- การปลูก หลังรับกิ่งพันธุ์ประมาณ ๒ เดือน
เพื่อกิ่งพันธุ์แข็งแรงและปรับเข้ากับสภาพภูมิอากาศ
- ศึกษาการเจริญเติบโตในแปลงปลูก
- การแตกกิ่ง ในแปลงปลูก
- ระยะเวลา
- จำนวน
- รูปแบบการแตกกิ่ง การเรียงตัวของใบ
- ศึกษาการพัฒนาของต้นมะกอกโอลีฟ
- การออกดอก
- การออกผล
- ระยะเวลาการออกดอกออกผล
- ปัจจัยที่มีผลต่อการออกดอกออกผล
- ศึกษาการขยายพันธุ์
- การปักชำ
- ศึกษาการใช้ฮอร์โมน
- ศึกษาบันทึกการแตกกิ่ง แตกราก
- ศึกษาเปอร์เซ็นต์รอดหลังย้ายปลูก
- ศึกษาการเจริญเติบโต
- แตกกิ่งแขนง ในเรือนเพาะชำ
- ระยะเวลา
- จำนวน
- รูปแบบ
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
- ศึกษาชิ้นส่วนพืชที่เหมาะสม
- ศึกษาวิธีการฟอกฆ่าเชื้อ
- ศึกษาหาสูตรอาหารในการเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ศึกษาคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
- พันธุ์ที่เหมาะกับการสกัดน้ำมัน
- พันธุ์ที่เหมาะสมกับการนำมาดอง
- พันธุ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ด้านเนื้อไม้ ก่อสร้าง แกะสลัก เฟอร์นิเจอร์
- พันธุ์ที่สามารถนำมาเป็นไม้ประดับ
ฯลฯ

การศึกษาทดลองในระยะยาว
- รวบรวมเมล็ดพันธุ์สายพันธุ์ต่างๆ นำมาเพาะและคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย
- ร่วมการศึกษาทดลองกับเครือข่ายและหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ
- วางแนวทางการพัฒนาพันธุ์

ภาคผนวก
การดำเนินงาน
หลังจากท่านเลขาธิการพระราชวัง ได้ให้ศึกษาทดลองปลูกมะกอก(OLIVE) ในประเทศไทย และดำเนินการติดต่อประสานงานสั่งซื้อกิ่งพันธุ์มะกอกโอลีฟอายุ ๑ ปี ๒ ปี และ ๓ ปี จำนวน ๒๗ สายพันธุ์จากประเทศอิตาลี จำนวน ๑,๕๑๕ กิ่ง เพื่อนำไปทดลองปลูกในพื้นที่
- สถานีทดลองเกษตรที่สูง เขาค้อ จังหวัดเพชรบุรี ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่จากกรมวิชาการเกษตร
- พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการการพัฒนาและขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ บ้านโรงวัว จังหวัดเชียงใหม่
- ในภาคกลางจะนำไปทดลองปลูกที่สวนอุไทยธรรม รังสิต ปทุมธานี ของท่านเลขาธิการพระราชวัง
กิ่งพันธุ์มะกอกโอลีฟได้เดินทางมาถึงประเทศไทย ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๐ และใส่รถบรรทุกห้องเย็น ไปทำการปลูกลงถุงเพาะชำไว้ที่ศูนย์บริการการพัฒนาและขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ฯ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๐ หลังจากที่กิ่งพันธุ์แตกเจริญหลังจากเพาะในถุงชำประมาณ ๒ เดือน จะขนส่งไปปลูกในพื้นที่เป้าหมายต่อไป และในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ ได้รับมะกอกโอลีฟจากประเทศอิตาลีมาปลูกที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ ๕๐ ต้น
มะกอกโอลีฟจากประเทศอิตาลี ๑,๕๖๕ ต้น ได้ทำการส่งไปปลูกในพื้นที่ต่างๆดังนี้

- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จำนวน ๑๕ ต้น
- หน้าโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา จำนวน ๗ ต้น
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี จำนวน ๗๗ ต้น
- สวนอุไทยธรรม (รังสิต) จำนวน ๒๖ ต้น
- ศูนย์อนุรักษ์หม่อนไหมและไม้ย้อมสีคลองไผ่
จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๗๗ ต้น
- สวนสมเด็จ
ศูนย์การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จำนวน ๒ ต้น
- สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๗๖๑ ต้น
- ศูนย์บริการการพัฒนาและขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ฯ
(ศูนย์ฝึกโรงวัว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่) จำนวน ๔๖๔ ต้น
- ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑๓๖ ต้น
มะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนส่งมาถึงประเทศไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๑ จำนวน ๑,๖๑๐ ต้น ๔ สายพันธุ์ ครั้งที่สองถูกส่งมาวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑ จำนวน ๒,๕๑๖ ต้น ครั้งที่สามวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๒ จำนวน ๖๙๐ ต้น ๑๔,๑๘๔ เมล็ด ครั้งที่สี่ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๓ จำนวน ๕๑๗ ต้น ๓ สายพันธุ์ ครั้งสุดท้าย วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๓ จำนวน ๑,๐๐๖ ต้น ๑ สายพันธุ์
มะกอกโอลีฟจากประเทศสเปน ๖,๓๓๙ ต้น ๑๔,๑๘๔ เมล็ด ได้ส่งไปที่ต่างๆดังนี้
- โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา จำนวน ๒ ต้น
- ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ จำนวน ๑,๘๒๐ ต้น
จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๑๔,๑๘๔ เมล็ด
- สวนอุไทยธรรม (รังสิต) จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๓๙๖ ต้น
- สวนอาภากร สัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน ๓๖๐ ต้น
- บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลไทยจำกัด(มหาชน)จำนวน ๒,๕๐๒ ต้น
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตบางเขน จำนวน ๒๐๐ ต้น
วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร จำนวน ๑๐๐ ต้น
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน ๓๐๐ ต้น
- หน้าพระตำหนัก จำนวน ๒ ต้น
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ จำนวน ๑๘๕ ต้น
- ศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือโยทะกา จำนวน ๖๐ ต้น
- กองบัญชาการทหารสูงสุดกกส.สทพ.นทพ. จำนวน ๒๘๐ ต้น
- ท่านผู้หญิงเกนหลง จำนวน ๔ ต้น
- ไร่กิ่งทอง (คุณกิ่งทอง เสถียรคมสรไกร) จำนวน ๔๐ ต้น
- ตาย จำนวน ๘๘ ต้น
มะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนที่ได้ทำการส่งและปลูกลงถุงชำที่บริษัทไทยปิโตรเคมิคัล (TPI) จังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ ๓๑ กรกฎาคม-๑สิงหาคม ๒๕๔๑ จำนวน ๔ สายพันธุ์ ทั้งหมด ๑,๖๑๐ ต้น ดังนี้
๑. มะกอกสเปนสายพันธุ์ Manzanillo จำนวน ๔๐๓ ต้น
๒. มะกอกสเปนสายพันธุ์ Arbequina จำนวน ๔๐๐ ต้น
๓. มะกอกสเปนสายพันธุ์ Picual จำนวน ๔๐๔ ต้น
๔. มะกอกสเปนสายพันธุ์ Hojiblanca จำนวน ๔๐๓ ต้น
จะทำการปลูกโดยใช้ดิน ๔ ชนิด คือ ดินบ้านค่าย ดินวังจันทน์ ดินระยอง และดินในพื้นที่ ปัจจุบันได้ทำการปลูกไปบ้างแล้วบางส่วน เริ่มปลูกเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๒

วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๑ มะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนได้ถูกส่งมาจากบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) และนำมาทดลองปลูกที่สวนอุไทยธรรม (รังสิต) จำนวน ๘ ต้น ๔ สายพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์ Manzanillo Hojiblanca Picual และ Arbequina

วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑ รับต้นพันธุ์มะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนจำนวน ๑๖ กล่อง ๔ สายพันธุ์ ๒,๕๑๖ ต้น ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองและได้ทำการคัดสายพันธุ์มะกอกโอลีฟจากประเทศ สเปน ๔ สายพันธุ์ ๙๐๐ ต้น ส่งมอบให้บริษัทไทยปิโตรเคมิคัล (TPI) จังหวัดระยอง ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ส่วนที่เหลืออีก ๑,๖๑๖ ต้น ๔ สายพันธุ์ ส่งมอบให้ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ส่งมอบมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนจากศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ ให้สวนอาภากร ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน ๒๐๐ ต้น ๔ สายพันธุ์ สายพันธ์ละ ๕๐ ต้น และทำการปลูกเมื่อวันที่ ๑๗-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ โดยเจ้าหน้าที่จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ

วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ส่งมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนที่สวนอุไทยธรรม (รังสิต) จำนวน ๔๐ ต้น ๔ สายพันธุ์ และได้ทำการปลูก เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ๓๘ ต้น ๔ สายพันธุ์ดังนี้
สายพันธุ์ Manzanillo จำนวน ๙ ต้น
สายพันธุ์ Hojiblanca จำนวน ๑๐ ต้น
สายพันธุ์ Arbequina จำนวน ๑๐ ต้น
สายพันธุ์ Picual จำนวน ๙ ต้น
ส่วนอีก ๒ สายพันธุ์ ๒ ต้น คือ
สายพันธุ์ Manzanillo จำนวน ๑ ต้น
สายพันธุ์ Picual จำนวน ๑ ต้น
ได้นำกลับมาเพื่อปลูกหน้าโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา จำนวน ๑ ต้น เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ส่วนอีก ๑ ต้น ได้นำกลับไปปลูกที่สวนอุไทยธรรม (รังสิต) ดังนั้นมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนที่ได้ปลูก ณ สวนอุไทยธรรม (รังสิต) จึงมีจำนวนทั้งหมด ๓๙ ต้น

วันที่ ๒-๕ มีนาคม ๒๕๔๒ ได้รับมอบมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปน ณ ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และได้ทำการคัดสายพันธุ์ ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ โดยชนิดเมล็ดที่ทำการเพาะแล้วมีทั้งหมด ๑๔,๑๘๔ เมล็ด ๑๐ รหัสต้น ชนิดต้นที่ทำการปลูกแล้วมีทั้งหมด ๖๙๐ ต้น ๖๙๐ รหัสต้น

สามารถแยกได้เป็นแบบเมล็ดผล ๑๐ รหัสต้น ๑๔,๑๘๔ เมล็ด (เพาะเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๒)
๑. Picual จำนวน ๗,๓๓๔ เมล็ด
๒. Arbequina จำนวน ๔,๓๗๙ เมล็ด
๓. Olive ๕ จำนวน ๑,๘๘๓ เมล็ด
๔. # ๑. ๕๐๐ ปี จำนวน ๑ เมล็ด
๕. # ๒. จำนวน ๘๖ เมล็ด
๖. # ๒. จำนวน ๓๐๔ เมล็ด
๗. # ๓. จำนวน ๘๐ เมล็ด
๘. # ๔. จำนวน ๘ เมล็ด
๙. # ๕. จำนวน ๘๑ เมล็ด
๑๐. # ๖. จำนวน ๒๘ เมล็ด
สามารถแยกเป็นแบบต้นต่อ ๑๓๕ ต้น (ปลูกเมื่อวันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๔๒)
๑. Olive L Marte’ na จำนวน ๓๖ ต้น
๒. Olive L Vinia จำนวน ๔๖ ต้น
๓. Olive L จำนวน ๕๓ ต้น
สามารถแยกเป็นแบบกิ่งพันธุ์ได้ ๓ รหัสต้น ๕๕๕ ต้น (ปลูกเมื่อวันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๔๒)
๑. Hojiblanco จำนวน ๕๐ กิ่งชำ
๒. Acebuche จำนวน ๑๐๒ ต้น
๓. Picudo จำนวน ๔๐๓ ต้น
วันที่ ๙-๑๐ มีนาคม ๒๕๔๒ นำมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนมาจากหน่วยอนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่มาจำนวน ๑๙๘ ต้น ปลูกที่สวนอุไทยธรรม (รังสิต) จำนวน ๑๓๕ ต้น และ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๒ ปลูกอีก ๖๓ ต้น

วันที่ ๗-๘ มกราคม ๒๕๔๓ นำมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนมาปลูกที่สวนอุไทยธรรม จำนวน ๑๐๐ ต้น และมะกอกโอลีฟจากประเทศฝรั่งเศส จำนวน ๑๑ ต้น ๗ สายพันธุ์ รวม ๑๑๑ ต้น

วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๓ รับมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปน จำนวน ๕๑๗ ต้น ณ ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ๓ สายพันธุ์ คือ Manzanillo Hojiblanca และ Cornicabra แล้วนำไปส่งเพาะลงถุงดำที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ทั้งหมด ๕๑๗ ต้น

วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๓ รับมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปน จำนวน ๑๐๐๖ ต้น ๑ สายพันธุ์ คือ Arbequina ณ ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย แล้วนำไปเพาะลงถุงดำที่หน่วยอนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่

วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๔ รับมะกอกโอลีฟจากประเทศโมร็อคโค จำนวน ๑๑๓ ต้น ๔ สายพันธุ์ คือ Menara, Haouzia, Picholine Marocaine, Picholine Languedoc มาเพาะลงถุงดำที่เพาะชำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ วันพืชมงคล นายไพศาล ชีวะศิริ ทูลเกล้าฯถวายเงินสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษาทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในปี ๒๕๔๓–๒๕๔๔ จำนวน ๒ ล้านบาท

วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๔ นำเข้ามะกอกโอลีฟจากประเทศโมร็อคโค จำนวน ๘๖๙ ต้น ๓ สายพันธุ์ คือ Haouzia Menara และ Picholine เพาะลงถุงดำที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ จำนวน ๕๙๙ ต้น นำมาปลูกที่สวนอุไทยธรรม ๒๗๐ ต้น

วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ ทำการปลูกมะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนจำนวน ๑๑ ต้น ๑ สายพันธุ์ ณ สวนอุไทยธรรม จังหวัดปทุมธานี

วันที่ ๓–๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร และนายพรชัย จุฑามาศ เดินทางไปสำรวจเก็บรวบรวมพันธุ์มะกอกโอลีฟ ณ ประทศโมร็อคโค ได้นำเข้ากิ่งพันธุ์ จำนวน ๒๘ สายต้น และผลมะกอกโอลีฟจำนวน ๕๐ กิโลกรัม

วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ จัดส่งพันธุ์ที่ได้จากประเทศโมร็อคโค ไปทำการปักชำที่เกาะแรด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และจัดส่งผลมะกอกโอลีฟไปยังคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อทำการทดลองคั้นน้ำมัน และดองผล
วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ ส่งเมล็ดมะกอกโอลีฟจากประเทศโมร็อคโคไปที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่จำนวน ๒,๔๕๖ เมล็ด

เดือนธันวาคม ๒๕๔๔ ทำการขุดล้อมต้นมะกอกน้ำที่เริ่มให้ผลแล้ว จากเดิมปลูกในแปลงที่ สวนอุไทยธรรม จำนวน ๒๗๓ ต้น นำไปที่เรือนเพาะชำ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้มะกอกโอลีฟพันธุ์ที่นำมาจากประเทศสเปนและประเทศโมร็อคโค จำนวน ๕๑๐ ต้น เจริญเติบโตเต็มที่

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ นำเข้ามะกอกโอลีฟจากประเทศสเปนจำนวน ๓,๐๒๒ ต้น ๕ สายพันธุ์ คือ Arbequina, Hojiblanca, Manzanilla, Picual, Cornicabra ณ ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย

การออกดอกและติดผลของมะกอกโอลีฟในประเทศไทย

ปี ๒๕๔๔ พบมะกอกโอลีฟที่ทำการทดลองปลูกตามที่ต่างๆในประเทศไทยได้ออกดอกติดผล ดังนี้:

สวนอุไทยธรรม จังหวัดปทุมธานี พบต้นมะกอกโอลีฟออกดอกติดผลเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๔ จำนวน ๕ ต้น จำนวน ๑ สายพันธุ์
- พบครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ จำนวน ๔ ต้น
- พบครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๔ จำนวน ๑ ต้น

สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ ๓๕๐ ต้น ๒๗ สายพันธุ์ พบต้นมะกอกโอลีฟ จำนวน ๑ สายพันธุ์ ๑ ต้น ออกดอกติดผล
- ดอกชุดแรกพบว่าดอกบานในเดือนมกราคม ๒๕๔๔ จำนวน ๖ ดอก ผลสุก ๑ ผลและร่วงในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
- ดอกชุดที่ ๒ พบดอกบานในเดือนมีนาคม ๒๕๔๔ จำนวน ๔ ดอก ผลอ่อนร่วงในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
- ดอกชุดที่ ๓ พบดอกบานในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๔ จำนวน ๖ ดอก ผลอ่อนร่วงในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
- ดอกชุดที่ ๔ พบดอกบานในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔ จำนวน ๑ ดอก ผลอ่อนร่วงในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
- ดอกชุดที่ ๕ พบดอกบานในเดือนกันยายน ๒๕๔๔ จำนวน ๕ ดอก
การออกดอกติดผลเกิดที่ปลายยอดทั้งหมด ซึ่งยังถือว่าเป็นลักษณะผิดปกติ

บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทยจำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง ปัจจุบันทดลองปลูกต้นมะกอกโอลีฟ ๒,๕๐๒ ต้น ๔ สายพันธุ์ พบมะกอกโอลีฟออกดอกติดผลจำนวน ๑๙ ต้น ๒ สายพันธุ์ พบขณะติดผลในเดือนกันยายน ๒๕๔๔ จำนวน ๒ ต้น ที่เหลือพบขณะออกดอกในเดือนตุลาคม ๒๕๔๔

สวนอาภากร สัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีมะกอกโอลีฟ ๓๖๐ ต้น ๔ สายพันธุ์ พบต้นมะกอกโอลีฟออกดอกติดผลเมื่อเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๔๔ จำนวน ๓๕ รหัสต้น ๑ สายพันธุ์ จำนวน ๒ แปลง ขณะนี้ได้ทำการติดตามการออกดอกติดผลของแต่ละต้น ซึ่งได้ทำการวัดระยะและขนาดต่างๆของดอกและผล

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ ๕๖ ต้น ๔ สายพันธุ์พบต้นมะกอกโอลีฟออกดอกติดผลเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๔๔ จำนวน ๓ ต้น ๑ สายพันธุ์ การออกดอกติดผลจะเกิดบริเวณปลายยอด
พันธุ์มะกอกโอลีฟ(OLIVE)จากประเทศอิตาลี ที่สั่งเข้ามาในประเทศไทยชุดแรก
๒๗ สายพันธุ์ ดังนี้ :

Olive Cultivar VIVAI PIANTE A.BERTOLAMI
๘๘๐๔๐ LAMEZIA TERME ITALY SS ๑๘ Km ๓๘๒๑๐๐
Tel ๐๙๖๘ ๒๐๙๑๒๔ /๕/๖
Fax ๐๙๖๘ ๒๐๙๑๘๕

OLIVI DI ANNI ๑ A RADICE NUDA
Carolea Cassanese Biancolilla
Ascolana Tenera Coratina Pendolino
Frantoio Roggianella Giarraffa
Leccino Nocellara Etnea Nocellara del Belice
Nocellara Messinese Grossa di Spagna Itrana
Tonda Iblea Siracusana Cipressino
Picholine Dolce di Cerignola Ottobratica
Grossa di Gerace Manzanilla Conservolia
S.Agostino

OLIVI DI ANNI ๒ A RADICE NUDA
Carolea Cassanese Biancolilla
Ascolana Tenera Coratina Pendolino
Frantoio Roggianella Giarraffa
Leccino Nocellara Etnea Nocellara del Belice
Nocellara Messinese Grossa di Spagna Itrana
Tonda Iblea Siracusana Cipressino
Picholine Dolce di Cerignola Annolca
Grossa di Gerace Manzanilla Conservolia S.Agostino

OLIVI DI ANNI ๓ A RADICE NUDA same as ๒ years include Mela

พันธุ์มะกอกโอลีฟ(OLIVE)จากประเทศอิตาลี ที่สั่งเข้ามาในประเทศไทยชุดที่สอง
๕ สายพันธุ์ ดังนี้ :
๑. Coratina
๒. Leccino
๓. Biancolilla
๔. Uovo di Piccione
๕. Nocellara del Belice

พันธุ์มะกอกโอลีฟ(OLIVE)จากประเทศสเปนมี ๑๐ สายพันธุ์ ดังนี้ :
๑. Manzanillo ๒. Arbequina
๓. Picual ๔. Hojiblanca
๕. Picudo ๖. Acebuche
๗. Olive L Marte’ na ๘. Olive L Vinia
๙. Olive L ๑๐. Cornicabra

พันธุ์มะกอกโอลีฟ(OLIVE)จากประเทศฝรั่งเศสมี ๗ สายพันธุ์ ดังนี้ :
๑. Moncita ๒. Cayon
๓. Frantoio ๔. Lucqus de L’Herault
๕. Belgenfieroise ๖. Olive De Nice
๗. Picholine

พันธุ์มะกอกโอลีฟ(OLIVE)จากประเทศโมร็อคโคมี ๔ สายพันธุ์ ดังนี้ :
๑. Haouzia ๒. Menara
๓. Picholine Marocaine ๔. Picholine Languedoc

ภาพพื้นที่ที่ร่วมสนองพระราชดำริ
ในการทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ (Olea europaea L.) ในประเทศไทย
โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา
โครงการทดลองปลูกพืชพรรณ
งานศึกษาทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ (Olea europaea L.) ในประเทศไทย