ขั้นตอนการแยกส่วนที่เป็นเนื้อและเป็นน้ำ (Separating the solids and liquids)

 หน้า  1   2
 

          แรกเริ่มเดิมที กรรมวิธีแยกน้ำมันนั้นใช้วิธีการแบบพื้นๆ จนถึงวิธีการแบบธรรมดาทั่วๆ แต่ก็ยังคงมีประสิทธิภาพสูง และน้ำมันที่สกัดออกมาได้ก็มีปริมาณสูงอีกด้วย กรรมวิธีที่กำลังกล่าวถึงนี้คือ การบีบอัดน้ำมันโดยใช้คันโยก และชนิดที่ทันสมัยขึ้นมาอีกหน่อยก็คือ การบีบอัดโดยใช้สลักเกียว และชนิดล่าสุดกว่านั้นคือ การบีดอัดโดยใช้ไฮดรอลิค  มะกอกบดจะถูกถ่ายลงในภาชนะ แต่ยังไม่พร้อมจะบีบเอาน้ำออกมาเสียทีเดียว จะมีแผ่นรองเนื้อมะกอก หรือแผ่นกรองเข้ามาประกอบเป็นชั้นๆ มะกอกบดจะถูกเกลี่ยลงไปที่แผ่นรองทีละแผ่น และไหลลงมากองรวมกันอยู่ด้านล่าง ซึ่งมีก้านหมุนคอยตีเนื้อมะกอก เป็นรูปกรวย จนเกิดแรงกดที่ทำให้น้ำมันมะกอกไหลลงมาขณะที่ส่วนของเนื้อยังคงอยู่ที่แผ่นกรองและเนื่องจากเนื้อมะกอกบดมีลักษณะเป็ดเม็ดเล็กๆ ซึ่งมีความหนาแน่น จึงมีส่วนในการช่วยกรองพร้อมๆ กับแผ่นกรองที่มีอยู่แล้ว  เครื่องบีบไฮดรอลิคสมัยใหม่นั้น มีแรงกดสูงถึง 50-65 กก./ตร.ซม. ด้วยแรงกดจากเครื่องนี้เอง ส่วนของน้ำและน้ำมันจะค่อยๆ ซึมออกมา และไหลลงสู่รางบีบ จากนั้นก็ลงสู่ภาชนะดักตะกอน เมื่อใช้แรงกดจนถึงระดับ 40 กก./ตร.ซม. ก็จะได้น้ำมันที่บีบออกมาใหม่ๆ ซึ่งสามารถเอาน้ำมันส่วนนี้ไปกรองอีกขั้นหนึ่ง และเนื่องจากเป็นส่วนที่กรองได้โดยง่าย น้ำมันที่ได้ก็จะมีคุณภาพที่ดีขึ้น  แต่เดิมการเกลี่ยมะกอกบดลงไปบนแผ่นกรองนั้น จะเกลี่ยด้วยมือ แม้ว่าจะมีเครื่องเกลี่ยใช้กันอยู่บ้างแล้ว อีกทั้งยังเป็นเครื่องที่ใช้งานได้ดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานก็ตาม ที่สำคัญคือต้องนำแผ่นกรองมาล้างบ่อยๆ เพื่อมิให้เนื้อมะกอกที่มะกอกติดค้างอยู่ติดเชื้อหมัก ซึ่งเป็นต้นเหตุให้น้ำมันที่กรองออกมามีคุณสมบัติไม่ต้องตามประสงค์

 

CONTINUOUS SYSTEM WITH PASTE CENTRIFUGATION

  • Arrival of olive
  • Feed hopper and washer
  • Crusher
  • Thermal mixer
  • Water injection pump
  • Decanter
  • Oil vat
  • Centrifuge for oil-rich fraction
  • Vegetable water vat
  • Centrifuge for depleting vegetable water
  • Pomace outlet

         ในระยะหลังนี้ส่วนของกกาน้ำมัน และน้ำจากมะกอก จะถูกแยกออกจากกัน โดยใช้เครื่องกวนซึ่งทำงานอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนคือ หลังจากเอามะกอกบดหรือมะกอกกวนมาเจือจางน้ำกับน้ำอุ่นในสัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว มะกอกบดจะถูกฉีดเข้าไปในท่อดักตะกอน หรือเครื่องปั่นแกนนอน ซึ่งหมุนด้วยอัตราความเร็ว 3,000 หรือ 4,000 รอบต่อนาที และด้วยอาศัยหลักความหนาแน่นของมวลสารที่แตกต่างกัน ทั้งกาก น้ำมัน และน้ำจึงแยกตัวออกจากกันได้โดยทันที ส่วนของกากที่ยังมีความชื่นอยู่ (ประมาณ 50 % ) จะไหลผ่านไปทางท่อนำส่ง ขณะที่น้ำมันมะกอกยังรวมตัวอยู่กับน้ำมันจะไหลผ่านอีกท่อหนึ่ง และน้ำมันส่วนที่ยังมีน้ำปะปนอยู่จะไหลผ่านท่อที่สาม ต่อจากนั้น น้ำมันจากทั้งสองท่อนี้จะเข้าไปที่เครื่องปั่นเพื่อแยกน้ำกับน้ำมันออกตามกระบวนการ

ขั้นตอนการแยกน้ำมัน (Separating oil)
         
ตามกรรมวิธีบีบน้ำมันแบบดั้งเดิมนั้น ส่วนของน้ำกับน้ำมันจะยังมีปะปนกันอยู่ ซึ่งสามารถแยกออกได้โดยอาศัยหลักแรงโน้มถ่วงภายในกระบอกดักตะกอน โดยวัตถุเหลวจะถูกลำเลียงเป็นทางยาวผ่านไปยังอ่างพักซึ่งมีรูไซฟอนเชื่อมต่อกันอยู่ วิธีนี้จะช่วยให้ได้ปริมาณน้ำมันมากขึ้น และยังสามารถแยกเอาส่วนที่เป็นน้ำออกมาได้อีกในขั้นต่อไป ขั้นตอนการแยกนั้น สามารถทำได้อย่างรวดเร็วในเครื่องปั่นซึ่งหมุนด้วยความเร็ว 6,000 หรือ 7,000 รอบต่อนาที อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การปฏิบัติงานของเครื่องจักรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่เป็นของเหลวจะต้องรวมกันอยู่ในแทงก์เสียก่อน หลังจากนั้นจึงถ่ายลงสู่เครื่องปั่นแต่ละเครื่อง  เครื่องปั่นบางชนิดใช้สำหรับปั่นของเหลวที่มีเปอร์เซนต์น้ำมันสูง และบางชนิดก็ใช้สำหรับปั่นน้ำผัก น้ำผลไม้ที่ปริมาณน้ำมันต่ำ
          ในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องนี้ ส่วนที่เป็นของเหลวทั้งหมดจะเกิดจากการแยกตัวทันทีด้วยเครื่องปั่น และส่วนประกอบแต่ละชนิดที่แยกตัวออกมานั้นก็จะไหลผ่านทางท่อดักตะกอน

................................................................................................................

 ที่มาของข้อมูล : National Olive Council (I.O.O.C) แห่งประเทศสเปน

     
  l โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ l กิจกรรมโครงการ l สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน l ข้อมูลพรรณไม้ l เอกสารโครงการ l โครงการทดลองปลูกพืชพรรณ l
  l Home l Webboard l Guestbook I RSPG e-Mail l Web Links l สำนักงาน อพ.สธ. I ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ I สารพรรณพฤกษ์ I
  สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓
โทร. ๐-๒๒๘๒-๑๘๕๐, ๐-๒๒๘๒-๐๖๖๕ โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๐๖๖๕
E-mail : admin@plantgenetics-rspg.org
 
 
   
  สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๔ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร