หน้า  1   2   3   4

 
 

พรรณไม้ของสังคมพืชป่าดิบแล้ง (ฝั่งทะเล)

 
 
     

ป่าดิบแล้งบนเกาะจวง ตั้งแต่เชิงเขาใกล้ระดับน้ำทะเลปานกลาง จนถึงยอดเขาที่ตั้งประภาคาร (รทก. 125 เมตร) ต้นไม้มรป่าดิบแล้งบริเวณแอ่งที่เป็นหุบเขาจะมีความสูงกว่าต้นไม้มรป่าดิบแล้งตามไหล่เขาและสันเขา

 

ป่าดิบแล้งที่ปลายแหลมด้านทะเลนอกของเกาะจาน ได้รับอิทธิพลของกระแสลมแรงเป็นประจำ ตันไม้จึงเตี้ย แคระแกร็น เรือนยอดชั้นบนเป็นพุ่มแน่นติดต่อกันเป็นคลื่นสม่ำเสมอ
 

 

เกด Manilkara hexandra   Dubard. (Sapotaceae) ไม้ต้นขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ กิ่งและลำต้นมักคดงอ เป็นพรรณไม้เด่นที่สุดของป่าดิบแล้งฝั่งทะเล เปลือกสีคล้ำ แตกเป็นร่องลึกความยาว ใบเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนาแข็ง ดอกเล็กสีน้ำตาลอ่อน ผลกลมยาวประมาณ 1 ซม. สุกสีเหลือง กินได้

   

ข่อยหิน หรือ พุดผา Gardenia collinsae     Craib.(Rubiaceae) ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ บางครั้งแตกกิ่งก้านระเกะระกะคล้ายกับเป็นไม้พุ่ม เปลือกสีเทา บางเรียบ เปลือกแก่มักล่อนออกเป็นแผ่นโต ตามยอดตกชันเหนียว สีเหลือง ดอกสีขาว กลิ่นหอมอ่อน เป็นไม้โตช้า เนื้อไม่สีนวลเหลือง เนื้อละเอียด เหนียว ใช้แกละสลัก ตราประทับ ตัวหมากรุก ฯลฯ

 

 

มะกา    Bridelia ovata    Decne. ( Euphorbiaceae) ไม้ต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งแขนงระเกะระกะคล้ายไม้พุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกแยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน ใบใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน โดยใช้ใบแห้งหรือใบสดปิ้งพอกรอบ ชงกับน้ำเดือด แช่ไว้นาน 10-20 นาที ดื่มก่อนนอน

 

 

พลอง Memecylon plebejum  Kurz.  (Melastomataceae) ไม้ขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เป็นพรรณไม้เด่นชนิดหนึ่งในป่าดิบแล้ง  ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ แผ่นใบหนา ด้านบนมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกสีฟ้าเข้ม ออกบนช่อสั้นๆ รวมเป็นกลุ่มตามง่ามใบ
 

   

หน้า  1   2   3   4