สร้อยสุวรรณา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia  bifida  L.
วงศ์ :  LENTIBULARIACEAE
ชื่อสามัญ : yellow flower
ชื่ออื่น : หญ้าสีทอง เหลืองพิศมร  สาหร่ายดอกเหลือง
ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี    เดี่ยว เรียงสลับ  ออกบริเวณใกล้พื้นดิน รูปแถบ ยาวประมาณ 7 มม. ปลายใบกลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นกลางใบ 1 เส้น ไม่มีก้านใบ ถุงดักจับ  ขนาดเล็ก ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 มม. มีรยางค์รูปลิ่มแคบ 2 อัน มีก้านยาวประมาณ 0.3 มม. ช่อดอก  กระจะ โปร่ง ตั้งตรง สูงได้ถึง 16 ซม. ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 12 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มม. ผิวเกลี้ยง แกนช่อดอก ยาวได้ถึง 5 ซม. ผิวเกลี้ยง  มีครีบด้านข้าง ใบ ประดับรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 1.3 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ปลายแหลม ขอบเรียบ ผิวเกลี้ยง ใบประดับย่อยรูปลิ่มแคบ ยาวประมาณ 1 มม. กลีบเลี้ยง  2 กลีบ สีเหลือง เชื่อมติดกันที่ฐาน แฉกกลีบเลี้ยงรูปไข่ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบด้านล่างแคบกว่า กว้าง 1.5-3 มม. ยาวประมาณ 4 มม. ขอบเรียบ ปลายกลีบบนแหลม ปลายกลีบล่างหยักเป็น 2 แฉก
กลีบดอก  เชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิด สีเหลือง กลีบปากด้านบน รูปเกือบกลมและมีกลีบดุ้ง ผิวด้านบนสีเหลือง ผิวด้านล่างสีน้ำตาลแดง ปลายกลีบกลม ถึงเว้าบุ๋ม ขอบเรียบ ฐานมีเดือยรูปกรวยแคบ ยาวประมาณ 4.5 มม. ปลายแหลม เกสรเพศผู้  2 อัน ติดอยู่ที่ฐานของกลีบปากด้านบน ก้านเกสรเพศผู้แบน ตั้งตรง ยาวประมาณ 1 มม. อับเรณูยาวประมาณ 0.3 มม. มีรอยคอดตรงกลาง เกสรเพศเมีย  1 อัน รังไข่รูปไข่แบน กว้างประมาณ 0.7 มม. ยาวประมาณ 1 มม. ภายในมี 1 ห้อง ออวุลจำนวนมากที่ติดฐาน ก้านเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 ปาก ขนาดไม่เท่ากัน ผล กลมถึงทรงไข่แบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5  มม. เมล็ด  รูปไข่กลับ  ยาวประมาณ 0.25 มม.
แหล่งค้นพบในประเทศไทย พบในพื้นที่เปิดโล่งทั่วประเทศไทย
การกระจายพันธุ์ เป็นแนวกว้างตั้งแต่อินเดียถึงญี่ปุ่นและออสเตรเลีย
นิเวศวิทยา : ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณพื้นที่เปียกชื้น ออกดอกช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม

สรรพคุณ
: พื้นบ้านอีสาน ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม เข้าตำรับยาบำรุงเลือด

                            

 
 
 
 
   
  แหล่งข้อมูล : หนังสือ ไม้ยาที่ผาแต้ม โดย ธนุชา บุญจรัส สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ