ดุสิตา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia delphinioides  Thorel ex Pellegr.
วงศ์ :  LENTIBULARIACEAE
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น :
หญ้าข้าวก่ำน้อย  ดอกขมิ้น แตดข้า
ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี    เดี่ยว เรียงสลับ  ออกบริเวณใกล้พื้นดิน รูปแถบ ถึงรูปใบหอกกลับ กว้างประมาณ 0.5 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายใบกลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นกลางใบ 1 เส้น ไม่มีก้านใบ ถุงดักจับ ขนาดเล็ก รูปไข่ขวาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มม. มีรยางค์ 2 เส้น ยาวประมาณ 1 มม. ก้านถุงดักจับยาวประมาณ 1.5 มม. ผิวเกลี้ยง แกนช่อดอกยาวได้ถึง 10 ซม. ผิวเกลี้ยง ดอก ย่อย จำนวน 1-10 ดอก ก้านดอกย่อยยาวได้ถึง 6 มม. ใบประดับรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 5 มม. ปลายแหลม ขอบเรียบ กลีบเลี้ยง  2 กลีบ สีม่วงเข้ม เชื่อมติดกันที่ฐาน แฉกกลีบเลี้ยง ขนาดไม่เท่ากัน กลีบด้านบนรูปไข่ ปลายแหลม กลีบด้านล่างรูปไข่แกมใบหอก ปลายเว้าบุ๋ม กว้าง 3-3.5 มม. ยาวประมาณ 8 มม. ขอบเรียบ กลีบดอก  เชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิด สีม่วงเข้ม กลีบปากด้านบน รูปเกือบกลม กว้างประมาณ 12 มม. ยาวประมาณ 9 มม. ปลายแหลม เกสรเพศผู้  2 อัน ติดอยู่ที่ฐานของกลีบปากด้านบน ก้านเกสรเพศผู้แบน ยาวประมาณ 2 มม. อับเรณูยาวประมาณ 1 มม. มีรอยคอดตรงกลาง เกสรเพศเมีย  1 อัน รังไข่ทรงกระบอกแบน กว้างประมาณ 0.9 มม. ยาวประมาณ 2 มม. ภายในมี 1 ห้อง ออวุลจำนวนมากที่ติดฐาน ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน สั้นมาก ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 ปาก ขนาดไม่เท่ากัน รูปครึ่งวงกลม และรูปปลายตัด ผล รูปไข่แบน กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 5 มม. เมล็ด  รูปไข่ ยาวประมาณ 0.3 มม.
แหล่งค้นพบในประเทศไทย เชียงใหม่ พิษณุโลก เลย สกลนคร ชัยภูมิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด
การกระจายพันธุ์ กัมพูชา ลาว เวียตนาม
นิเวศวิทยา : ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณพื้นที่เปียกชื้น ออกดอกช่วงเดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม

สรรพคุณ
: พื้นบ้านอีสาน ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม เข้าตำรับยาบำรุงเลือด

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  แหล่งข้อมูล : หนังสือ ไม้ยาที่ผาแต้ม โดย ธนุชา บุญจรัส สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ