สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

COMBRETACEAE

































 


สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Terminalia chebula   Retz. var chebula
วงศ์ :  COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ :  Myrabolan wood

ชื่ออื่น :  ม่าแน่ (กระเหรี่ยง-เชียงใหม่) สมออัพยา (ภาคกลาง) หมากแน่ะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 20 -35 เมตร ผลัดใบ ลำต้นค่อนข้างเปลา ตรง ไม่มีพูพอนหรืออาจะมีบ้างเล็กน้อยใน บริเวณใกล้ผิวดิน เรือนยอดเป็นพุ่ม รูปไข่ค่อนข้างโปร่ง ตามกิ่งอ่อนมีขน สีน้ำตาลแดงทั่วไป เปลือกหนา สีเทาปนน้ำตาลหรือ สีน้ำตาลแก่ค่อนข้างดำ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึกไปตามยาวลำต้น ขรุขระ เปลือกในสีน้ำตาลแดงหรือ เหลืองอ่อนปนน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว (simple leaf) ติดตรงข้าม (opposite)หรือเยื้องกันเล็กน้อย(sub-opposite) ทรงใบรูปไข่ (oval)หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน(oval-oblong)ขนาดกว้าง 10 - 13 ซม. ยาว 18 - 28 ซม. ปลายใบแหลม ฐานใบมน (obtuse)และมักเบี้ยว(oblique) เล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนา ด้านหลังใบสีเขียวจัด คลุมด้วยขนสีขาวอ่อนนุ่ม ด้านท้องใบสี ค่อนข้างจางลง คลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม ด้านท้องใบสี ค่อนข้างจางลง คลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม เมื่อใบแก่ขนทางด้านท้องใบจะเหลือเพียงประปรายหรือร่วงหลุดไปหมด เส้นแขนงใบค่อนข้างถี่ มี 12-18 คู่ และมักมีเส้นแทรกเส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแหเห็นชัดมากทางด้านท้องใบ ขอบใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมหนาแน่นเรียงเป็นระเบียบ ก้านใบยาว 1.8 - 2.4 ซม. ตอนปลายของก้านใบใกล้ ๆ กับฐานใบมีต่อม 1 คู่ ดอก เป็นดอกช่อ(inflorescence flower)แบบ spike เล็กสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศขึ้นอยู่บนช่อที่แตกกิ่งก้าน ช่อดอกกลุ่มหนึ่ง ๆ มีช่อดอกประมาณ 4 - 7 ช่อ ปลายช่อจะห้อยลงสู่พื้นดิน เมื่อดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 - 4 ม.ม. ตลอดทั้งช่อ กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ภายในเต็มไปด้วยขน ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้มี 10 อัน เรียงตัวเป็นสองแถวล้อมรอบรังไข่ รังไข่รูปไข่เกลี้ยงๆ ภายในมีช่องเดียว มีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผล เป็นผลเดี่ยว(simple fruit) ประเภทผลสด (fleshy fruit) แบบเมล็ดแข็ง (drupe) เป็นรูปไข่หรือรูป รักบี้ มีเนื้อเยื่อหนาหุ้มเมล็ดขนาดยาว 3 - 4 ซม. กว้าง 2 - 3 ซม. มีพูหรือเหลี่ยมตามยาวตัวผล 5 เหลี่ยม ไม่มี ขนปกคลุม ผลแก่สีเขียวอมเหลือง พอแห้งจะเปลี่ยน เป็นสีดำ เมล็ดรูปกระสวย ขนาดใหญ่ เปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียวในแต่ละผล
       พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น ตามภาคต่างๆของประเทศทุกภาค เว้นภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-500 เมตร สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดทั้งดินเหนียวตลอดจนถึงดินทรายนอกจากป่าเบญจพรรณแล้ว ไม้สมอไทยยังชอบขึ้นอยู่ในเขตป่าแล้ง เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคกลาง เริ่มออกดอกหลังจากใบใหม่ผลิออกมาแล้วคือช่วงระหว่างเดือน เมษายน- มิถุนายน ผลจะแก่จัดประมาณระหว่างเดือน กันยายน-ธันวาคม
ประโยชน์ : เนื้อไม้ (wood) ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา รอด ตง เครื่องเรือน เครื่องเกวียน กรรเชียง คานเกวียน ครก สาก กระเดื่อง เปลือก (bark) ให้สีดำใช้ย้อมผ้า แห และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallolใช้ฟอกหนัง ผล (fruit) เต็มไปด้วยแทนนิน อาจมีมากถึง 46 % จึงเป็นประโยชน์ในการใช้สกัดแทนนินเพื่อการค้าและใช้ย้อมผ้าให้มีสีดำ  
สรรพคุณทางยา เปลือกต้น รสฝาดเมา ต้มดื่ม บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ ดอกรสฝาดต้มดื่ม แก้บิด
ผลอ่อน รสเปรี้ยว ถ่ายอุจจาระแก้โลหิตในท้อง แก้น้ำดี แก้เสมหะ
ผลแก่รสฝาดเปรี้ยวขม แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมป่วง แก้พิษร้อนภายใน แก้ลมจุกเสียด ถ่ายพิษไข้ คุมธาตุ แก้ไอเจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้เสมหะเป็นพิษ แก้อาเจียน บำรุงร่างกาย ดองกับน้ำมูตรโคดื่มแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แก้อ่อนเพลีย บดเป็นผงโรยแผลเรื้อรัง
เนื้อผล รสฝาดเปรี้ยว แก้บิด แก้ท้องผูก แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี แก้โรคท้องมาน แก้ตับม้ามโต แก้อาเจียน แก้สะอึก แก้หืดไอ แก้ท้องร่วงเรื้อรัง  
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ผล ผลสดใช้รับประทานกึ่งผักกึ่งผลไม้ ปริมาณคุณค่าสารอาหาร คุณค่าสารอาหารของผลสมอไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัมและสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายประกอบด้วย(กองโภชนาการ กรมอนามัย,2535) พลังงาน 53 กิโลแคลอรี่ น้ำ 85.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 1.7 กรัม กาก 2.5 กรัม เถ้า(ash) 0.4 กรัม แคลเซี่ยม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก เล็กน้อย มิลลิกรัม วิตามินเอ 500 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินซี 116 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.0 มิลลิกรัม
ที่มาของข้อมูล : http://www.dnp.go.th/MFCD1/wicha/structure20.html