กล้วยน้อย



ชื่อพื้นเมือง : กล้วยน้อย ตาแหลว (นครราชสีมา), สะทาง (อุบลราชธานี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylopia vielana Pierre


ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่จนถึงรูปขอบขนาน เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น แผ่นใบมีขนนุ่มสั้นๆ ทั้ง 2 ด้าน ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกไม่เกิน 3 ดอกตามง่ามใบใกล้ยอด กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปรีแกมรูปสามเหลี่ยม โคนติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยกจากกัน กลีบดอกหนา เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบเรียวยาว เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมีย 5-6 อัน มีขนปุย ผลเป็นผลกลุ่ม แต่ละผลรูปทรงกระบอก คอดระหว่างเมล็ดเล็กน้อย มีขนประปราย ผลแก่สีเหลืองอมส้ม แตกอ้า มี 2-3 เมล็ด เมล็ดสีแดง


ประโยชน์ : -


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม