กล้วยน้อย
Xylopia vielana Pierre, ANNONACEAE



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลแกมแดง แต่จะร่วงไปเมื่อกิ่งแก่ กิ่งแก่สีน้ำตาลคล้ำเกือบดำ มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่จนถึงรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4.5 ซม. ยาว 3.5-9.5 ซม. ปลายมนถึงเรียวแหลม โคนมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น แผ่นใบมีขนนุ่มสั้นๆ ทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกไม่เกิน 3 ดอกตามง่ามใบใกล้ยอด กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปรีแกมรูปสามเหลี่ยม กว้างยาวด้านละประมาณ 5 มม. โคนติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยกจากกัน ด้านนอกมีขนสั้นๆ สีเหลืองอ่อนหนาแน่น กลีบดอกหนา เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบเรียวยาว กลีบชั้นนอกใหญ่กว่ากลีบชั้นในเล็กน้อย กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 2 ซม. ด้านนอกกลีบมีขนสั้นๆ สีเหลืองอ่อนหนาแน่น เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมีย 5-6 อัน มีขนปุย ผลเป็นผลกลุ่ม แต่ละผลรูปทรงกระบอก ยาว 3-4 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เบี้ยวพองโค้งออกทางด้านนอกด้านเดียว คอดระหว่างเมล็ดเล็กน้อย มีขนประปราย ก้านผลยาว 2-3 ซม. ผลแก่สีเหลืองอมส้ม แตกอ้า มี 2-3 เมล็ด เมล็ดสีแดง


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค พบมากทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าดิบแล้ง


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.