กระดาดดำ


ชื่อพื้นเมือง : กลาดีบูเก๊าะ (มลายู-ยะลา), ปึมปื้อ (เชียงใหม่), โหรา (สงขลา, ยะลา), เอาะลาย (ยะลา), กระดาดดำ (กาญจนบุรี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don


ชื่อวงศ์ : ARACEAE


ชื่อสามัญ : Giant Alocasia, Elephant Ear


ลักษณะ : ไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ สูงกว่า 1 ม. ลำต้นสั้น อวบ ใบเดี่ยว สีเขียวเข้มหรือม่วง รูปไข่กว้าง ช่อดอกตั้งตรง เป็นแท่งยาวลักษณะคล้ายดอกบอน กลิ่นหอม ก้านช่อดอกเล็ก ดอกมีกาบสีขาวปลายแหลมหุ้ม โคนกาบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีเขียว ช่อดอกประกอบด้วยดอกเพศเมียติดอยู่บริเวณโคนช่อ มักมีจำนวนน้อยกว่าดอกเพศผู้ ส่วนบนมีดอกเพศผู้จำนวนมาก ผลเนื้อนุ่ม เมื่อสุกสีส้มหรือแดง รูปรี ผิวบาง มี 1 เมล็ด


ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ส่วนต่างๆ ใช้เป็นยารักษาโรค คือ รากใช้กินเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ทาแก้พิษแมลงป่อง รากและใบสับปนกันใช้พอกแก้โรคปวดตามข้อ เหง้าโขลกตำพอกแผลที่เป็นหนอง บางท้องถิ่นใช้เป็นอาหาร


โทษ : ต้นกระดาดดำมีสารพิษอยู่ด้วยคือ calcium oxalate และ hydrocyanic acid


ข้อมูลเพิ่มเติม