กวักทองคำ
Aglaonema tricolor Jervis, ARACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นสูงได้ถึง 1 ม. ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง 8.5-11.5 ซม. ยาว 22-26 ซม. ปลายแหลมและโค้งลง โคนป้านหรือค่อนข้างมน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบด่าง บางครั้งด่างทั้งสองด้าน ด้านบนมีปื้นสีเขียวอมเหลืองใกล้เส้นแขนงใบ ด้านล่างมีปื้นสีเดียวกันขนาดไม่เท่ากัน เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมีปื้นสีเหลืองสดขนาบ ก้านใบอวบน้ำ ยาว 14-24 ซม. สีชมพูอ่อน มีจุดสีขาวจนถึงสีน้ำตาลอมเขียวหรือน้ำตาลอมแดง กาบใบยาว 12-14.5 ซม. ปลายแหลม ช่อดอกอวบน้ำ กาบหุ้มช่อดอกยาว 3-5 ซม. สีนวลอมชมพู มีเส้นเขียวและจุดเขียวจาง เป็นสีเนื้ออมชมพูและด้านหลังกาบเป็นสัน ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1 ซม. แกนช่อดอกยาวประมาณ 4 ซม. ดอกเพศผู้ขนาดใหญ่ อยู่ตอนปลายแกน ดอกเพศเมียอยู่ตอนล่าง 9-15 ดอก ฝังอยู่ในแกน ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. ค่อนข้างกลม สีแดงสด มีเนื้อนุ่ม เมล็ดเล็กมาก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พรรณไม้ถิ่นเดียวของฟิลิปปินส์


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : นำเข้ามาปลูกกันทั่วไปเป็นไม้ประดับ


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.