กะพ้อ
Licuala peltata Roxb., ARECACEAE (PALMAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ปาล์มลำต้นสูง 3-5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 30-40 ซม. ลำต้นเดี่ยว มีรอยกาบใบที่หล่นไป ใบมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ ใบรูปกลม กว้างยาว 1-1.6 ม. ก้านใบรูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 ม. มีหนามใหญ่สีดำแหลมโค้งลง หนามถี่ตอนโคนใบ ส่วนปลายจะเป็นหนามห่าง ใบประกอบด้วยใบย่อย 100-120 ใบ ติดกันเป็นแผ่น ใบย่อย รูปแถบ กว้าง 2-2.5 ซม. ยาวประมาณ 80 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกลึกไม่เท่ากัน โคนสอบ แต่ละใบย่อยยังแยกเป็น 2 แฉกตื้น ๆ ปลายแหลม ช่อดอกกลมตั้ง ยาว 1.5-2 ม. มีขนสีน้ำตาลหลุดง่าย กาบหุ้มช่อดอกเป็นหลอด กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง แยกแขนงเป็นช่อเชิงลด 5-7 ช่อ ห้อยลง แต่ละช่อยาว 15-30 ซม. ช่อดอกเหล่านี้ติดอยู่กับก้านช่อดอกกลางเป็นระยะๆ และอยู่เลยกึ่งกลางก้านช่อดอกขึ้นไปจนถึงปลายก้านดอกก้านสั้น กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 แฉกตื้นๆ กลีบดอกยาวประมาณ 1 ซม. โคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น กลีบแข็ง 3 กลีบ ปลายกลีบแหลม เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านชูอับเรณูติดที่โคนเป็นวง และติดกับโคนกลีบดอก อับเรณูโผล่พ้นกลีบดอก รังไข่ตอนบนตัดแบน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 8 มม. ผลรูปกระสวย ยาวประมาณ 1.5 ซม. แก่จัด สีส้ม เนื้อบาง เมล็ดกลมรี


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย และพม่า


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าดิบชื้น


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์