เกล็ดมังกร
Dischidia nummularia R. Br., ASCLEPIADACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เกาะเลื้อยอิงอาศัย มียางขาว ลำต้นเล็ก รากออกตามข้อและปล้อง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปเกือบกลมคล้ายเบี้ย กว้างยาวประมาณ 1 ซม. ปลายมีติ่งสั้น ใบหนาและอวบน้ำมองไม่เห็นเส้นใบ ก้านใบยาวประมาณ 1 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกออกตามง่ามใบ มี 1-5 ดอก บานทีละดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3 มม. ดอกเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวนวล โคนติดกัน รูปคล้ายคนโท ปลายแยกเป็น 5 แฉก โคนแฉกด้านในมีขนยาว สีขาว ชี้ลง เส้าเกสรประกอบด้วยรยางค์ 5 อัน สีขาว แต่ละอันมีลักษณะคล้ายสมอเรือ โคนติดกันเป็นวง กลุ่มเรณูเป็นแผ่น ติดเป็นคู่ ก้านกลุ่มเรณูแผ่กว้าง ขนาดใกล้เคียงกับกลุ่มเรณู แผ่นยึดก้านสีน้ำตาลเข้ม รังไข่ 2 อัน แยกจากกันแต่ติดกันตรงปลาย ฝักรูปทรงกระบอก ยาว 1.5-4 ซม. ฝักแก่แตกแนวเดียว มีเมล็ดมาก เมล็ดมีขนยาวสีขาวเป็นพู่ที่ปลายด้านหนึ่ง


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย และออสเตรเลีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : พบมากในป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าชายหาด ขึ้นอยู่ชิดกันเป็นกลุ่มตามต้นไม้และหิน


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.