จมูกปลาหลด




ชื่อพื้นเมือง : เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม), จมูกปลาหลด ตะหมูกปลาไหล (ลพบุรี), ผักไหม (เชียงใหม่), สะอึก (ภาคกลาง), จมูกปลาไหลดง (เพชรบูรณ์), ตะมูกปลาไหล (นครราชสีมา), กระพังโหม


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxystelma secamone (L.) Karst.


ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้เถาขนาดเล็ก ขึ้นพาดพันต้นไม้อื่น ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปยาวแคบปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ ดอกออกที่ง่ามใบเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้น ช่อหนึ่งมี 2-3 ดอก บางครั้งช่อใหญ่มี 6-9 ดอก กลีบดอกโคนติดกันปลายแยกเป็น 5 กลีบ ด้านนอกสีขาวอมชมพู ด้านในสีเดียวกันแต่มีเส้นสีม่วงเข้มอยู่ตอนโคนกลีบที่ติดกัน ผลรูปไข่ ปลายโค้งเรียว แก่แล้วแตกข้างเดียว มีเมล็ดมาก ปลายเมล็ดมีขนติดอยู่เป็นกระจุก


ประโยชน์ : ในประเทศอินเดีย จีน และอินโดนีเซียใช้เป็นยากลั้วคอ ชะล้างแผล และแก้ดีซ่าน ไทยใช้เป็นสมุนไพรมาช้านาน ปรุงเข้ายาหลายตำรับ เช่น ยาเขียวน้ำมูตร ยาเขียวมหาคงคา ยามหากะเพราและยาขนานต่างๆ อีกมาก ใบและดอกกินได้


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม