ก้นจ้ำ
Bidens biternata (Lour.) Merr. et Sherff, ASTERACEAE (COMPOSITAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้ง แตกกิ่ง สูงได้ถึง 0.3-1.5 ม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามมีใบย่อย 3-5 ใบ บางใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ก้านในประกอบยาว 9-15 ซม. ใบย่อยรูปไข่ห รือรูปไข่กลับ กว้าง 0.3-3.5 ซม. ยาว 1.5-6.5 ซม.ปลายแหลม โคนสอบคล้ายลิ่ม แผ่นใบทั้ง 2 ด้านเกลี้ยง หรือมีขนประปราย ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุกแน่น ช่อเดียว ช่อแยกแขนง หรือช่อเชิงหลั่น (corymb) แต่ละช่อมีวงใบประดับ 8-10 อัน รูปแถบปลายแหลม ยาว 3-7 มม. ดอกวงนอกรูปลิ้น ไม่สมบูรณ์เพศ มี 1-5 ดอก หรือไม่มี กลีบดอกสีเหลือง หรือขาว ปลายกลีบจัก 2-3 จัก ดอกวงในมีหลายดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเหลือง โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นจักแหลม 4-5 จัก กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 6 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลยาว 0.5-2 ซม. ติดบนฐานดอกเป็นกระจุกหัวแหลมท้ายแหลม มีสัน และร่องตามยาว ผล มีรยางค์แข็ง 2-4 อัน ติดที่ปลาย เมื่อแก่แห้งไม่แตก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เขตอบอุ่น และเขตร้อนทั่วโลก


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ


สภาพนิเวศน์ : เป็นวัชพืชตามไร่ และสวน ตามข้างถนน และที่แห้งแล้ง


เวลาออกดอก : ประมาณเดือนตุลาคม


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.