เขียงผ่าช้าง


ชื่อพื้นเมือง : เขียงผ่าช้าง (ภาคใต้, เชียงใหม่), เกี๋ยงพาช้าง (เชียงใหม่), เกียงพราช้าง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Blumea lanceolaria (Roxb.) Druce


ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม สูง 0.8-2 ม. ลำต้นตั้งตรงและแข็งเป็นเนื้อไม้ที่โคนต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปใบหอกกลับแกมรี หรือรูปใบหอกแกมรูปขนาน ปลายเรียวแหลม โคนสอบขอบจักฟันเลื่อยค่อนข้างละเอียด ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุกแน่น ดอกย่อยมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศเมีย กลีบดอกสีเหลือง โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 แฉก ดอกสมบูรณ์เพศมีขนหรือสะเก็ดละเอียด ปลายหลอดแยกเป็น 5 แฉก ดอกเพศเมียกลีบดอกเป็นเส้นเล็กยาว ผลสีน้ำตาลอ่อน รูปทรงกระบอก โค้งเล็กน้อย ตามยาวผลมีสัน 10 สัน และมีขนละเอียด


ประโยชน์ : ไต้หวันใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่ม แก้ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดใหญ่ และเหน็บชา ภูมิภาคอินโดจีนใช้แก้หลอดลมอักเสบ แผลเปื่อยในช่องปาก ขับเหงื่อ มาเลเซียใช้ใบที่ต้มแล้วตำพอกแก้ปวดข้อ


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม