เขียงผ่าช้าง
Blumea lanceolaria (Roxb.) Druce, ASTERACEAE (COMPOSITAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม สูง 0.8-2 ม. ลำต้นตั้งตรงและแข็งเป็นเนื้อไม้ที่โคนต้น แตกกิ่งเล็กน้อยที่ปลายลำต้น มีขนละเอียดตามยอดอ่อนและช่อดอก ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปใบหอกกลับแกมรี หรือรูปใบหอกแกมรูปขนาน กว้าง 1-8 ซม. ยาว 6-32 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบขอบจักฟันเลื่อยค่อนข้างละเอียด แผ่นใบด้านบนเป็นคลื่นและเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียด ก้านใบสั้นมาก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาว 30-60 ซม. ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุกแน่น มีวงใบประดับ 4-5 วง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.1 ซม. ใบประดับยาว 1-9 มม. ใบประดับวงนอกรูปใบหอกแกมรูปไข่ วงในรูปใบหอกแคบ ขอบเป็นเยื่อบางๆ สีขาว มีขนละเอียดด้านหลัง มีขนครุยตามขอบและปลาย ก้านช่อดอกย่อยยาวประมาณ 6 มม. ฐานรองกระจุกดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. ค่อนข้างแบนราบ มีเกล็ดบางๆ หรือขนละเอียดทั่วไป ดอกย่อยมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศเมีย กลีบดอกสีเหลือง ยาว 5-6 มม. โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4-5 แฉก ดอกสมบูรณ์เพศมีขนหรือสะเก็ดละเอียด ปลายหลอดแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่ ปลายแหลม เกสรเพศผู้ 4-5 อัน โคนอับเรณูมีรยางค์สั้นๆ รังไข่เล็กมาก อยู่ใต้วงกลีบ ดอกเพศเมียกลีบดอกเป็นเส้นเล็กยาว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ผลสีน้ำตาลอ่อน รูปทรงกระบอก โค้งเล็กน้อย ยาว 1-3 มม. ตามยาวผลมีสัน 10 สัน และมีขนละเอียด ที่ปลายผลมีวงขน สีขาวอมเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเรื่อๆ ยาว 5-6 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และญี่ปุ่น


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในพื้นที่ชื้นมีร่มเงา ตามหุบเขาหรือริมลำธาร บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 ม.


เวลาออกดอก : เดือนพฤศจิกายน-เมษายน


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.