กระต่ายจันทร์


ชื่อพื้นเมือง : กระต่ายจันทร์ (กรุงเทพมหานคร), สาบแร้ง (ภาคกลาง), หญ้ากระจาม (สุราษฎร์ธานี), หญ้าจาม (ชุมพร, เชียงใหม่), เหมือดโลด (นครราชสีมา), กระต่ายจาม


ชือวิทยาศาสตร์ : Centipeda minima (L.) A. Br. et Aschers


ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นแตกแขนงทอดราบไปตามพื้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปช้อน ปลายแหลม โคนสอบ ขอบหยักหยาบๆ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ค่อนข้างกลม ออกตามง่ามใบ ดอกเพศเมียเล็กมากและมีจำนวนมาก เรียงเป็นวงบนฐานรองดอกล้อมรอบดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและมีจำนวนน้อยกว่า ดอกเพศเมียมีกลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดเรียว ปลายแยก 2-3 แฉก ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 4 แฉก เกสรเพศผู้ 4 อัน ผลมักเป็นสี่เหลี่ยมรูปรีหรือรูปเกือบขอบขนาน ขนาดเล็กมากและมีขน


ประโยชน์ : จีนใช้ทำยานัตถุ์ ยาลดอาการบวม พบสารเคมีจำพวก sesquiterpene 2 ชนิด และ flavonoid อีก 3 ชนิด มีผลในการยับยั้งและต้านภูมิแพ้


โทษ : ในรัฐควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย มีผู้กล่าวถึงว่ามีพิษด้วย


ข้อมูลเพิ่มเติม