เบญจมาศ


ชื่อพื้นเมือง : เบญจมาศ เบญจมาศหนู (ภาคกลาง), เก๊กฮวย (จีน), ดอกขี้ไก่ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysanthemum morifolium Ramat.


ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)


ชื่อสามัญ : Edible Chrysanthemum, Florist Chrysanthemum


ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-1.2 ม. ผิวเปลือกต้นและกิ่งเป็นลายทางตามแนวยาว ต้น กิ่ง และใบมีกลิ่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ค่อนข้างกลมถึงรูปไข่หรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนตัดหรือสอบแหลมคล้ายรูปลิ่มแกมรูปฐานหัวใจ ขอบเว้าเป็นพู 3-5 พู รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบเว้าเป็นจักหยาบๆ ปลายมนและเป็นติ่งเล็กๆ แผ่นใบหยาบ เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีขาวเด่นชัด ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบบนๆ เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 2-5 ซม. ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย มี 1-2 ชั้น กลีบรูปลิ้น สีขาวเหลืองหรือม่วง ดอกกลางเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีจำนวนมาก ลักษณะเป็นหลอดยาว ปลายเป็นแฉกเล็กๆ 5 แฉก สีเหลือง


ประโยชน์ : ดอกรสขมเป็นยาเย็น ใช้เป็นยาระงับประสาท ในญี่ปุ่นกินดอกดองน้ำส้ม ใบและยอดอ่อนต้ม หรือทอด ใช้ใบชงน้ำดื่มต่างน้ำชา มีผลต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยชนิด Meloidogyne indica Whitehead และ Pratylenchus alleni Ferris


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม