เบญจมาศ
Chrysanthemum morifolium Ramat., ASTERACEAE (COMPOSITAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-1.2 ม. แตกกิ่งมาก ผิวเปลือกต้นและกิ่งเป็นลายทางตามแนวยาว ค่อนข้างเกลี้ยง สีเขียวอมเทา ต้น กิ่ง และใบมีกลิ่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ค่อนข้างกลมถึงรูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-5 ซม. ปลายแหลม โคนตัดหรือสอบแหลมคล้ายรูปลิ่มแกมรูปฐานหัวใจ ขอบเว้าเป็นพู 3-5 พู รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบเว้าเป็นจักหยาบๆ ปลายมนและเป็นติ่งเล็กๆ แผ่นใบหยาบ ด้านบนสีเขียวอมเทามีขนสีขาวประปราย เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีขาวเด่นชัด ด้านล่างสีเขียวอมเทามีขนหนาแน่นกว่าด้านบน ก้านใบยาว 1.5-3 ซม. ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบบนๆ มีใบประดับรูปแคบยาว เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 2-5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 5-10 ซม. วงใบประดับแคบยาว รูปขอบขนาน มีขนสีขาว ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย มี 1-2 ชั้น กลีบรูปลิ้น สีขาวเหลืองหรือม่วง ยาว 0.8-1.2 ซม. ดอกกลางเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีจำนวนมาก ลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 3 มม. ปลายเป็นแฉกเล็กๆ 5 แฉก สีเหลือง เกสรเพศผู้ 5 อัน ขนาดเล็กมาก อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก


ถิ่นกำเนิด : สาธารณรัฐประชาชนจีน และญี่ปุ่น


การกระจายพันธุ์ : -


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : ตัดชำกิ่งยอดและการแยกหน่อ เป็นพืชช่วงวันสั้น เมื่อนำมาปลูกในประเทศไทยซึ่งมีช่วงแสงสั้นกว่า 13 ชั่วโมงครึ่งโดยประมาณ จึงออกดอกเร็ว เป็นอุปสรรคต่อการตัดชำกิ่ง จำเป็นต้องมีการเพิ่มแสงติดต่อกันให้นานกว่า 13 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อให้การเจริญเติบโตทางลำต้นสมบูรณ์เต็มที่ก่อนจึงลดช่วงแสงลงเป็นการกระตุ้นให้ออกดอกต่อไป


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.