กระดุมทอง
Melampodium divaricatum (Rich. ex Pers.) DC., ASTERACEAE (COMPOSITAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้ง สูง 30-50 ซม. ตามลำต้นมีขนทึบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-10 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบหรือหยักซี่ฟัน แผ่นใบมีขนสากทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 1 เส้น เห็นชัดเจน ก้านใบสั้น มีครีบ มีขนตามก้านใบและขอบครีบ ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นคู่ตามง่ามใบใกล้ยอด เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.7-3 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-8 ซม. โคนช่อมีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นนอก 3-5 ใบ โคนติดกัน ชั้นในหุ้มผลไว้ ขอบใบประดับมีขนเรียงกันถี่ โคนใบประกอบชั้นนอกใหญ่ขึ้นเมื่อดอกร่วงไป ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย มี 8-12 ดอก กลีบดอกสีเหลือง รูปรี กว้าง 3-4 มม. ยาว 6-8 มม. รังไข่เล็ก ดอกวงในลักษณะเหมือนดอกเพศเมียแต่รังไข่ไม่สมบูรณ์ ดอกเพศผู้ขนาดเล็กมาก และเป็นหมัน อยู่กลางกระจุกดอก ผลรูปสามเหลี่ยม ยอดแบน เมล็ดเล็ก สีดำเป็นมัน ยาว 3-4 มม. ด้านข้างซึ่งเป็นเหลี่ยมมีรอยย่น


ถิ่นกำเนิด : พรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกากลาง


การกระจายพันธุ์ : -


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.