กูดเปื๋อย
Anisocampium cumingianum Presl, ATHYRIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้นค่อนข้างอวบ ทอดขนานใต้ดิน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. มีเกล็ดหุ้ม เกล็ดรูปแถบแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ก้านใบยาวได้ถึง 35 ซม. ตอนบนสีน้ำตาลอ่อน ตอนโคนสีน้ำตาล มีเกล็ดและขน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 25 ซม. ยาวประมาณ 35 ซม. ใบย่อย 2-6 คู่ มีก้านใบสั้นๆ หรือไม่มี ใบย่อยไม่สร้างอับสปอร์รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 4.5 ซม. ยาวประมาณ 13 ซม. ใบย่อยสร้างอับสปอร์แคบกว่า ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนมนถึงสอบ ขอบหยักลึก ประมาณ 1/5 ของระยะจากขอบใบถึงเส้นกลางใบย่อย แฉกเฉียง ปลายมนและหยักซี่ฟัน แผ่นใบสีเขียวอ่อน บาง เรียบ หรือมีขนสั้นๆ ใบย่อยที่ปลายใบรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนสอบ มน หรือหยักเป็นรูปหัวใจ ขอบหยัก บางครั้งบริเวณใกล้โคนใบหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ เส้นใบแยกสาขาแบบขนนกจากเส้นกลางใบไปยังแต่ละหยัก บริเวณใกล้เส้นกลางใบสานเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์กลมอยู่บนเส้นใบที่แยกสาขาแบบขนนก เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์กลมแกมรูปไต บาง และสีซีด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียตอนใต้ ศรีลังกา ลาว และฟิลิปปินส์


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนไหล่เขาบริเวณที่เป็นดินทรายหรือโคลน ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 30-1,600 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.