ผักกูดขาว
Diplazium esculentum (Retz.) Sw., ATHYRIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าตั้งตรง อาจสูงได้มากกว่า 1 ม. มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขอบดำ ขอบเกล็ดหยักซี่ฟัน เกล็ดกว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบมีขนาดต่างๆ กัน มักยาวมากกว่า 1 ม. ก้านใบยาวประมาณ 70 ซม. กลุ่มใบย่อยคู่ล่างๆ มักลดขนาด กว้างประมาณ 25 ซม. ยาวประมาณ 40 ซม. ปลายเรียวแหลม ใบย่อยกว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 13 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปกึ่งหัวใจหรือรูปติ่งหู ขอบหยักเว้าลึกเป็นแฉกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย แฉกปลายมน ขอบหยักซี่ฟัน แผ่นใบบาง เส้นใบแยกสาขาแบบขนนกยื่นเข้าไปในแต่ละแฉก เส้นใบย่อยมีประมาณ 10 คู่ สานกับเส้นใบที่อยู่ในแฉกติดกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้นหรือไม่มี กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อย มักเชื่อมกับกลุ่มอับสปอร์ที่อยู่ในแฉกติดกันซึ่งมีเส้นใบมาสานกัน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เขตศูนย์สูตรของเอเชีย จีนตอนกลาง ญี่ปุ่นตอนใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นอยู่บริเวณดินแฉะๆ หรือริมลำธารในบริเวณที่ได้รับแสงเต็มที่ บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.