กูดดอย
Blechnum orientale L., BLECHNACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น ลำต้นตั้ง อาจสูงได้มากกว่า 50 ซม. ลำต้นมีเกล็ดรูปแถบ สีน้ำตาล กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายเกล็ดเรียวยาวเป็นหาง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนาน กว้าง 45-60 ซม. ยาวประมาณ 1.2 ม. ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแดงเมื่อใบยังอ่อน มีร่องตามยาว อาจยาวได้ถึง 60 ซม. โคนมีเกล็ดหนาแน่น ตามก้านใบมีใบที่ลดขนาดรูปร่างคล้ายติ่งหูอยู่ทั่วไป ใบย่อยมีจำนวนมาก เรียงตัวเฉียงกับแกนกลางใบประกอบ ห่างกัน 2-3 ซม. รูปแถบหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.2-2 ซม. ยาวประมาณ 30 ซม. ปลายเรียวยาวเป็นหาง โคนมนหรือกึ่งตัด ขอบเรียบ เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ใกล้เส้นกลางใบย่อย เห็นได้ชัดเจนทั้ง 2 ด้าน แผ่นใบเหนียว เรียบ ใบย่อยไม่มีก้าน กลุ่มอับสปอร์เป็นแถบแคบๆ ทาบตลอดความยาวของเส้นกลางใบย่อย บางครั้งพบกลุ่มอับสปอร์กว้างมากกว่า 1 มม. เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์แคบ มักเปิดออกก่อนที่อับสปอร์จะแก่


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เขตศูนย์สูตรของทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และญี่ปุ่น


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาที่ได้รับแสงเต็มที่ หรือริมลำธารในที่ค่อนข้างร่ม บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,600 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.