กะหล่ำดาว
Brassica oleracea L. var. gemmifera (DC.) Thell., BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสองปี ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 1 ม. ไม่แตกกิ่ง มีตาข้างจำนวนมากเจริญเป็นปลี ลักษณะคล้ายกะหล่ำปลีหัวเล็กๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. ออกเวียนรอบลำต้นจากส่วนโคนใกล้ระดับดิน โดยมีใบซึ่งคล้ายใบกะหล่ำดอกออกเป็นกลุ่มที่ส่วนปลายลำต้น


ถิ่นกำเนิด : เริ่มพัฒนาพันธุ์ และปลูกแพร่หลายที่เมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม มานานนับศตวรรษ


การกระจายพันธุ์ : -


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : ชอบอากาศเย็นที่อุณหภูมิระหว่าง 15-20 องศาเซลเซียส


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ และดูแลรักษาคล้ายกะหล่ำดอก ระยะปลูก 50-90 x 60-90 ซม.


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : กะหล่ำเป็นพืชที่มนุษย์นำมาปลูกเพื่อบริโภคเป็นเวลานานกว่า 4,500 ปีมาแล้ว และได้ปรับปรุงคัดเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อการบริโภคในลักษณะต่างๆ กะหล่ำในปัจจุบันจึงมีลักษณะแตกต่างไปจากกะหล่ำป่า (Wild Cabbage) ซึ่งมีถิ่นเดิมอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป สำหรับกะหล่ำดาวได้นำมาปลูกในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ สามารถปลูกได้ผลดีแต่ยังไม่แพร่หลายเท่ากะหล่ำชนิดอื่น


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.