กระไดลิง


ชื่อพื้นเมือง : กระไดลิง (ราชบุรี), กระไดวอก มะลืมดำ (ภาคเหนือ), โชกนุ้ย (ชาวบน-ชัยภูมิ), บันไดลิง ลางลิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen


ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็งเหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง มีขนประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงมีดอกเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง แยกกัน ฝักแบน รูปรีหรือรูปไข่แกมรี ฝักแก่สีน้ำตาลแดง ปลายมน มีติ่งแหลมสั้นๆ


ประโยชน์ : ในอินโดนีเซียใช้น้ำเลี้ยง (sap) จากเถากระไดลิงจิบบรรเทาอาการไอ


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม