กระไดลิง
Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen, LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได จึงเรียกกันว่า "กระไดลิง" กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด กว้าง 5-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก โคนใบกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 1.5-5 ซม. หูใบเล็กมาก เป็นติ่งยาว ร่วงง่าย ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 12-25 ซม. ออกที่ปลายกิ่ง มีขนประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงมีดอกเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง แยกกัน คล้ายรูปพัด ก้านกลีบดอกสั้น เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 2 อัน ขนาดเล็กกว่า รังไข่ก้านสั้น ฝักแบน รูปรีหรือรูปไข่แกมรี กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม ฝักแก่สีน้ำตาลแดง ปลายมน มีติ่งแหลมสั้นๆ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน และอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค เว้นภาคใต้, เลย, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, อยุธยา, สระบุรี, จันทบุรี, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, ตราด, กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K., eds. 1984. Flora of Thailand (Vol.4: 1). Bangkok: TISTR Press.