กุ่ม
Crateva religiosa Forst.f., CAPPARACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ออกเป็นกลุ่มหนาแน่นตามปลายกิ่ง ก้านใบประกอบยาว 6.5-10 ซม. หูใบเล็ก ร่วงง่าย ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-10.5 ซม. ยาว 8.5-16 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ เมื่ออ่อนอยู่ใบบางนุ่ม เมื่อแก่หนา เส้นแขนงใบเรียบ มีข้างละ 7-11 เส้น โค้งไปหาขอบใบ แต่ละคู่อยู่ห่างๆ กัน ใบย่อยไม่มีก้านหรือถ้ามียาวไม่เกิน 5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะถี่ แต่ละช่อมักมีจำนวนมาก ก้านดอกยาว 2-9 ซม. ใบประดับเล็กมาก กลีบเลี้ยงรูปรีหรือรูปไข่ ปลายมนหรือแหลม กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-7 มม. กลีบดอกสีขาว ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง รูปไข่กว้างหรือรูปรี ปลายมนหรือแหลม กว้าง 1-2 ซม. ยาว 1.5-3 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 0.5-2 ซม. เกสรเพศผู้สีแดงหรือม่วง มี 10-30 อัน ส่วนมากพบ 13-18 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 1.5-5 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 4-7 ซม. รังไข่รูปไข่หรือกึ่งทรงกระบอก มี 1ช่อง ผลสีเทาอมเหลือง ค่อนข้างกลมยาวหรือรูปไข่ กว้าง 5.5-9.5 ซม. ยาว 6-15 ซม. ผิวเมื่อแก่เป็นสะเก็ดหยาบๆ มีเมล็ดมาก เมล็ดคล้ายรูปหัวใจเบี้ยว กว้าง 0.5-1.7 ซม. ยาว 1-1.9 ซม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ตาก, กรุงเทพมหานคร, ชัยนาท, จันทบุรี, ชุมพร, พัทลุง


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าที่มีน้ำท่วมถึงและตามริมฝั่งน้ำ


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Smitinand, T. and Larsen, K., eds. 1991. Flora of Thailand (Vol.5: 3). Bangkok: Chutima Press.