กูดยูง
Araiostegia pulchra (Don) Copel., DAVALLIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาวแตกแขนง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. มีเกล็ดบางสีน้ำตาลหุ้ม เกล็ดรูปขอบขนาน โคนและปลายมน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบประกอบแบบขนนกสามถึงสี่ชั้น รูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานปลายแหลม ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 20 ซม. อยู่บนส่วนของเหง้าที่ตั้งขึ้นประมาณ 1 ซม. มีเกล็ดประปรายที่โคน กลุ่มใบย่อยมีประมาณ 10 คู่ คู่ล่างใหญ่ที่สุด รูปขอบขนานปลายแหลม กว้างประมาณ 8 ซม. ยาวประมาณ 15 ซม. กลุ่มใบย่อยชั้นที่ 2 รูปขอบขนานปลายมนถึงแหลม โคนสอบ มีก้าน กลุ่มใบย่อยชั้นที่ 3 ไม่มีก้านใบ โคนสอบ แฉกปลายใหญ่ ขอบหยักมนถึงค่อนข้างแหลม แฉกอื่นๆ เล็กมาก ปลายแหลม แผ่นใบสีเขียวอมเหลืองถึงเขียวอ่อน บาง เรียบ เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ กลุ่มอับสปอร์รูปกลม อยู่บนเส้นใบใกล้ขอบใบย่อย เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เล็ก เป็นแผ่นบาง


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เนปาล จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : เกาะต้นไม้ใหญ่ปนกับมอสส์หรือขึ้นบนหินในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900-1,200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.