กูดลอง
Gymnogrammitis dareiformis (Hook.) Ching ex Tard., DAVALLIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว แตกแขนง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. มีเกล็ดเป็นแผ่นบางหุ้ม เกล็ดสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาล ตอนกลางสีน้ำตาลเข้ม กว้างประมาณ 1 มม. ยาว 4-5 มม. โคนแคบ ปลายเรียวเป็นเส้น ใบประกอบแบบขนนกสามถึงสี่ชั้น รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 15 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาล อยู่บนเหง้าที่ตั้งขึ้น มีเกล็ดที่โคน กลุ่มใบย่อยมีประมาณ 10 คู่ เรียงสลับ รูปขอบขนาน เรียวแหลมไปหาปลายใบ กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. มีก้านเป็นครีบ กลุ่มใบย่อยชั้นที่ 2 รูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ มีก้านสั้น เส้นใบแยกเป็นคู่ กลุ่มใบย่อยชั้นที่ 3 ขอบเรียบหรือหยักปลายแหลม แผ่นใบบาง สีเขียวเข้ม ผิวเรียบ กลุ่มอับสปอร์อยู่บนเส้นใบของใบย่อยชั้นที่ 3 ใบละ 1 กลุ่ม ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียตอนเหนือและจีนทางตะวันตกเฉียงใต้


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ


สภาพนิเวศน์ : เกาะต้นไม้ใหญ่ปนกับมอสส์ หรือขึ้นบนหินในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200-2,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.