กูดหอมป้อมใบย่อย
Humata repens (L.f.) Diels, DAVALLIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. มีเกล็ดหุ้มตลอด เกล็ดสีน้ำตาล กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 7 มม. โคนและปลายเรียวยาว ใบเดี่ยว ขอบหยักลึกแบบขนนก หรือใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนานแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยม หรือรูปห้าเหลี่ยมมน กว้าง 2-7 ซม. ยาว 2.5-10 ซม. ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 7 ซม. มีเกล็ดประปราย ตอนล่างสุดของใบหรือใบย่อยคู่ล่างสุดใหญ่ที่สุด รูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบ เส้นใบอิสระ กลุ่มอับสปอร์ขนาดเล็ก อยู่ที่ขอบใบบริเวณที่หยัก เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์รูปครึ่งวงกลม กว้างประมาณ 1 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เกาะมาดากัสการ์ หมู่เกาะเซเชลส์ หมู่เกาะมาสคารีน อินเดียตอนใต้ ญี่ปุ่นตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคโปลินีเซีย และออสเตรเลีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : เกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่หรือบนก้อนหินในที่ค่อนข้างร่มหรือกลางแจ้ง ในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,600 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.