กูดเกี๊ยะ
Pteridium aquilinum (L.) Kuhn var. wightianum (J. Agardh) Tryon, DENNSTAEDTIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น มีลักษณะคล้ายกับ Pteridium aquilinum var. yarrabense คือ มีเหง้าทอดขนานลึกใต้ดิน ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ต่างกับ P. aquilinum var. yarrabense ที่ใบย่อยชั้นที่ 2 ไม่มีก้านใบ แกนกลางใบประกอบ แกนกลางใบย่อยทุกชั้นมีร่องตามยาวทางด้านบนของแผ่นใบ ภายในร่องมีขน ลักษณะอื่นๆ เหมือนกับ P. aquilinum var. yarrabense


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พบทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของโลก


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าดิบเขาและป่าสนเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-2,200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.