กูดกิน
Pteridium aquilinum (L.) Kuhn var. yarrabense Domin, DENNSTAEDTIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดขนานใต้ดิน ลึกประมาณ 10 ซม. แตกสาขามาก เหง้ามีขนสีน้ำตาลอ่อน ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ก้านใบแข็ง ยาวประมาณ 1 ม. ตอนปลายสีน้ำตาลอ่อน โคนสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีขนสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป แกนกลางใบย่อย แกนกลางใบย่อยชั้นที่ 1 แกนกลางใบย่อยชั้นที่ 2 และแกนกลางใบย่อยชั้นที่ 3 มีร่องตามยาวทางด้านบน ใบย่อยชั้นที่ 1 คู่ล่างใหญ่ที่สุด กว้างประมาณ 40 ซม. ยาวประมาณ 70 ซม. ใบย่อยชั้นสุดท้ายหยักลึกเป็นแฉกเล็กแบบขนนก แผ่นใบค่อนข้างเหนียว มีขนสีน้ำตาลอ่อน เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ เป็นสันทางด้านล่างของแผ่นใบ ใบย่อยมีก้านใบสั้น แกนกลางใบย่อยไม่มีขนหรือมีขนประปราย กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามขอบใบย่อย เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์มี 2 ส่วน ส่วนบนเกิดจากขอบใบพับมาคลุม ส่วนล่างเป็นเยื่อบางๆ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : เทือกเขาหิมาลัย ลงมาถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนภูเขาในระดับสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 ม. ตามที่โล่งแจ้ง ดินเป็นกรด หรือตามป่าสน


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.