กระดูกไก่ดำ
Sauropus brevipes Muell. Arg., EUPHORBIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 0.5-1 ม. กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 1-1.7 ซม. ยาว 1-2.5 ซม. แผ่นใบบาง ปลายมนหรือแหลม โคนแหลม ขอบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 2-3 เส้น ก้านใบยาว 1-2 มม. มีหูใบรูปไข่ปลายแหลม 1 คู่ ยาวประมาณ 1 มม. ดอกเพศผู้เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 มม. ออกเป็นช่อตามง่ามใบ โคนก้านช่อและก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็กรูปไข่ปลายแหลม ก้านดอกยาว 2-4 มม. กลีบรวมเมื่อยังอ่อนสีเขียว แก่แล้วสีเหลือง โคนติดกันคล้ายจาน ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียคล้ายดอกเพศผู้แต่ใหญ่กว่า ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก ผลกลม ขนาด 2-3 มม. แก่แล้วแตกออกจากกัน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นทั้งในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.