กระเบาค่าง
Hydnocarpus castanea Hook.f. et Th., FLACOURTIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม. กิ่งก้านค่อนข้างสั้น เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-12 ซม. ยาว 13-35 ซม. ใบหนา ปลายค่อยๆ สอบเรียวหรือเรียวแหลมทันที โคนสอบหรือมนเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ เส้นแขนงใบเยื้องกันข้างละ 6-8 เส้น เห็นชัดทางด้านล่าง เส้นใบย่อยเป็นร่างแหถี่ๆ ก้านใบยาว 1.5-2 ซม. ปลายทั้ง 2 ข้างพองออก หูใบร่วงง่าย รูปขอบขนานแกมรี ยาวประมาณ 4 มม. สีน้ำตาลแดง ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ตามง่ามใบของกิ่งอ่อน ช่อละ 2-3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2-3 มม. ทั้งช่อมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 2-3 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง 4-5 มม. ยาว 6-7 มม. ด้านในมีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปขอบขนานแคบๆ กว้างประมาณ 3 มม. ยาว 0.8-1.1 ซม. ที่โคนด้านในมีเกล็ดรูปแถบ กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 7 มม. มีขนที่ปลายเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 3 มม. อับเรณูรูปหัวใจ ยาวประมาณ 3 มม. ดอกเพศเมีย ก้านดอกยาว 1.5-2.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงกว้างประมาณ 5 มม. ยาว 0.8-1.1 ซม. กลีบดอกกว้าง 3-4 มม. ยาว 1.2-1.5 ซม. เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์รูปลิ่มกลับ ยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนสีน้ำตาลอมเหลือง ผลกลมหรือแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-8 ซม. เปลือกแข็ง ผิวเรียบ มีขนคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล เมื่อแก่เกลี้ยงและเป็นสะเก็ด มี 20-30 เมล็ด เมล็ดอัดกันแน่นเป็นเหลี่ยม กว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 2.5-3.3 ซม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พม่า และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : พบขึ้นในป่าดิบ เขาหินปูน ตามชายเขา ริมแม่น้ำ และที่แฉะ บนที่สูงจากระดับน้ำทะเล 30-200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.