กระโดน
Careya sphaerica Roxb., LECYTHIDACEAE (BARRINGTONIACEAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-30 ม. โดยมากลำต้นมักเตี้ยแจ้ สูง 4-6 ม. มีกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อนเป็นแผ่น ปรกติเปลือกสีเทา แต่มักถูกไฟป่าเผาทุกปีจึงมีสีดำคล้ำ หน้าแล้งจะทิ้งใบหมดแล้วผลิใบใหม่พร้อมดอก ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ๆ ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 3.5-12 ซม. ยาว 6-20 ซม. ปลายแหลม เป็นติ่งสั้นๆ โคนเรียวยาวดูคล้ายครีบ ขอบหยักเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างบางและเหนียว เส้นแขนงใบข้างละ 10-15 เส้น ดอกใหญ่ ออกเป็นช่อ เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 6 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับ 3 ใบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างมน ยาวประมาณ 2.5 ซม. โคนกลีบติดกันเป็นรูประฆัง กลีบดอก 4 กลีบ สีขาว รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 4.5 ซม. ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เรียงเป็นชั้นๆ อย่างหนาแน่น ชั้นนอกสุดยาวกว่าชั้นใน ทั้งชั้นนอก และชั้นในไม่มีอับเรณู ส่วนชั้นกลางๆ เป็นเกสรเพศผู้สมบูรณ์ ก้านชูอับเรณูสีม่วง รังไข่ 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ผลรูปไข่หรือกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. ที่ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดแบน สีน้ำตาลอ่อน รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.2 ซม. ผิวเรียบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อัฟกานิสถาน อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน จนถึงภาคเหนือของมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นประปรายตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าแดง และป่าทุ่ง


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.