กระเทียม



ชื่อพื้นเมือง : กระเทียมขาว หอมขาว (อุดรธานี), กระเทียม กระเทียมจีน (ภาคกลาง), เทียม หัวเทียม (ภาคใต้), หอมเทียม (ภาคเหนือ), ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.


ชื่อวงศ์ : LILIACEAE (ALLIACEAE)


ชื่อสามัญ : Garlic, Common Garlic


ลักษณะ : ไม้ล้มลุก มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น ใบเดี่ยวขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ลักษณะบางใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ สีขาวหรือขาวอมชมพู ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ


ประโยชน์ : เป็นอาหารหรือเครื่องเทศ โดยใช้ทั้งต้นเป็นอาหาร หัวกระเทียมสด แห้ง และน้ำมันกระเทียมใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร เป็นอาหารเสริมสุขภาพ ใช้บำบัดอาการไอ หวัด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปวดฟัน ปวดหู ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย โรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดเปราะ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน ขับพยาธิไส้เดือน ลดอาการอักเสบบวม ฆ่าเชื้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าแมลง น้ำมันกระเทียมใช้ทาแก้แมลงกัดต่อย


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม