กูดหางไก่
Sphenomeris chinensis (L.) Maxon var. divaricata (Christ) Kramer, LINDSAEACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ทอดขนาน มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ ยาวประมาณ 2 มม. ดูคล้ายขนแข็ง ใบประกอบแบบขนนกสามถึงสี่ชั้น ออกรวมเป็นกระจุก รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 20-60 ซม. ก้านใบสีเขียวเมื่อยังอ่อน และจะเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบแก่ ยาว 5-35 ซม. มีร่องตามยาวทางด้านใกล้แกน (adaxial) ตอนบน ใบย่อยทุกชั้นเรียงสลับ ชั้นที่ 1 รูปกึ่งสามเหลี่ยม ปลายสอบแหลมถึงเรียวแหลม โคนสอบแหลม มีก้านใบ แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นใบอิสระ มักมี 2-3 เส้น แต่เห็นไม่ชัดเจน กลุ่มอับสปอร์อยู่ที่ปลายแฉก บนเส้นใบย่อยหรือที่กลุ่มของปลายเส้นใบที่ยื่นเข้าไปในแต่ละแฉก กลุ่มอับสปอร์กว้างประมาณ 1 มม. เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ติดอยู่ที่ฐาน ขอบหยักซี่ฟันเล็กๆ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : แถบตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นริมลำธารบริเวณที่ได้รับแสง บนพื้นที่ระดับต่ำถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.