กูดหางค่าง
Bolbitis heteroclita (Presl) Ching ex C. Chr., LOMARIOPSIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นเหง้าทอดขนานยาว มีเกล็ดสีเข้มเกือบดำ รูปแถบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 5 มม. ใบเดี่ยวหรือใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบสร้างอับสปอร์และใบไม่สร้างอับสปอร์มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน ใบไม่สร้างอับสปอร์ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาว 10-30 ซม. ใบย่อย 1-2 คู่ รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-15 ซม. โคนสอบ มีก้านสั้นๆ ปลายเป็นติ่งยาว 4-7 ซม. ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นตื้นๆ ใบย่อยที่อยู่ตรงปลายรูปขอบขนาน ปลายมักคอดยาวคล้ายหาง ส่วนหางยาว 50-80 ซม. แกนกลางใบประกอบแผ่เป็นครีบ บางครั้งปลายใบสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ เส้นใบเป็นร่างแหเห็นชัดเจนทั้ง 2 ด้าน แผ่นใบบาง เรียบ สีเขียวเข้มซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อใบแห้ง ใบสร้างอับสปอร์ก้านใบยาวกว่าใบไม่สร้างอับสปอร์เล็กน้อย ใบย่อยมีได้ถึง 4 คู่ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2.7 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. ใบย่อยที่ปลายใบใหญ่กว่าใบย่อยอื่นๆ กลุ่มอับสปอร์เรียงตัวทั่วไปบนแผ่นใบย่อยด้านล่าง


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดียตอนเหนือ พม่าตอนเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ไต้หวัน หมู่เกาะริวกิว ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาะนิวกินี


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนพื้นดินหรือตามก้อนหินที่มีดินปกคลุม ในบริเวณที่ชื้นๆ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-1,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.