กูดขน
Lycopodium clavatum L., LYCOPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชในกลุ่มใกล้เคียงกับเฟิร์น เหง้าทอดขนานยาวไปตามดิน แตกสาขาเป็นคู่ 2-3 ครั้ง เฉียงหรือตั้งขึ้น มีใบปกคลุมหนาแน่น ใบเดี่ยว เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 มม. ไม่มีก้านใบ มีรูปร่างต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์แนบติดกับลำต้น รูปแถบถึงรูปแถบแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 1 มม. ยาว 4-6 มม. ปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบไม่แยกสาขา แผ่นใบสีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ใบสร้างอับสปอร์ออกเป็นกลุ่มรูปทรงกระบอกตั้งตรงที่ปลายยอด เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มม. ยาว 3-8 ซม. ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ปลายเรียวแหลม ขอบหยักซี่ฟัน อับสปอร์อยู่เดี่ยวๆ ตามซอกใบ สร้างอับสปอร์ชนิดเดียว


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พบทั่วไปทั้งในเขตศูนย์สูตรและเขตอบอุ่นของโลก


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าดิบเขา กลางแจ้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300-2,500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.