กระเจี๊ยบมอญ
Abelmoschus esculentus (L.) Moench, MALVACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-2 ม. ลำต้นสีเขียว เขียวแกมแดง หรือมีประม่วงแดง มีขนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 ซม. ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ ใบที่อยู่ตอนกลางกิ่งหรือกลางลำต้นขึ้นไปมีขอบใบหยักเว้า 3-7 หยัก ส่วนใบล่างๆ ขอบใบไม่หยัก เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้น ก้านใบยาว 10-30 ซม. หูใบเป็นเส้นเรียว ยาว 1-1.5 ซม. ดอกใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น ยาว 1-1.5 ซม. เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ดอกอ่อนกลีบติดกัน เมื่อดอกแก่แยกจากกันด้านเดียวเป็นกาบยาว 1.5-3 ซม. ปลายกลีบหยักซี่ฟันเล็กๆ 5 หยัก กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม กว้าง 3-4 ซม. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 ซม. หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด รังไข่เล็ก รูปกรวยคว่ำมี 5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก ผลเป็นฝักห้าเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม กว้าง 1-2 ซม. ยาว 5-20 ซม. มีขนทั่วไป มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไต ขนาด 3-6 มม. เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ


ถิ่นกำเนิด : พรรณไม้ถิ่นเดิมแถบเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย


การกระจายพันธุ์ : เขตร้อนทั่วไป


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.