ก่องข้าวหลวง
Abutilon persicum (Burm.f.) Merr., MALVACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1.5-3 ม. มีขนแข็งกระจายทั่วไปตามลำต้นและส่วนอื่นๆ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 1-15 ซม. ยาว 3-20 ซม. ปลายแหลม โคนเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบเป็นคลื่นหรือเป็นจัก แผ่นใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาวได้ถึง 11 ซม. หูใบเล็กเรียว ดอกสีเหลือง ออกตามง่ามใบ กว้าง 3-4 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม ยาว 5-7 มม. มีขน กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ด้านนอกมีขนตามขอบกลีบ มีหลอดเกสรเพศผู้อยู่ตรงใจกลางดอก ประกอบด้วยเกสรเพศผู้จำนวนมากหุ้มเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก รังไข่มี 5 ช่อง ผลกลมแป้น มี 5 พู กว้าง 1.3-1.6 ซม. สูง 1-1.5 ซม. มีขน มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ใต้ผล ผลแก่จัดแตกเป็น 5 เสี่ยง แต่ละเสี่ยงมี 4-6 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอมดำ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : พบตามป่าโปร่ง


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.