กรุงเขมา
Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman, MENISPERMACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา เถา กิ่ง ใบ และช่อดอกมีขนอ่อนนุ่มหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปกลม รูปหัวใจหรือรูปไต ก้นปิด กว้างยาว 2-10 ซม. บางครั้งอาจกว้างมากกว่ายาว ปลายแหลมหรือเป็นติ่งหนาม โคนมน ตัดหรือเว้าเล็กน้อย เมื่อยังอ่อนมีขนอ่อนนุ่มหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน และตามขอบใบ แต่จะร่วงไปเมื่อใบแก่ ก้านใบยาว 2-10 ซม. ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบ ยาว 2-8.5 ซม. ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2 มม. ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 4 กลีบ โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของกลีบเลี้ยงเกสรเพศผู้มัดเดี่ยวยาวกว่ากลีบเลี้ยง อับเรณูติดกันเป็นรูปจาน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อกระจะที่ง่ามใบ ยาว 2.5-5 ซม. ก้านดอกสั้นมาก ใบประดับรูปกลม หรือรูปไต ซ้อนเหลื่อมกันแน่น ไม่ร่วง ปลายเป็นติ่งหนาม มีขน กลีบเลี้ยง 1 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบดอก 1 กลีบ ออกตรงข้ามกับกลีบเลี้ยง และสั้นกว่า ผลค่อนข้างกลม สีแดง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 ซม. มีขน มีเมล็ดเดียว เล็ก แข็ง รูปโค้ง หรือเป็นรูปเกือกม้า ผิวขรุขระ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย แอฟริกา และอเมริกา


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นริมแม่น้ำลำธาร ในป่าผลัดใบ ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 1,100 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.