กร่าง
Ficus altissima Blume, MORACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดกว้าง มียางขาว และมีรากอากาศ ส่วนต่างๆ เมื่อยังอ่อนมีขนสั้นประปราย แต่จะร่วงไปในที่สุด ทำให้ลำต้น กิ่ง และใบเกลี้ยง ยกเว้นด้านนอกของหูใบมีขนอ่อนๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายมนเป็นติ่งแหลมสั้นๆ โคนค่อนข้างมน ขอบเรียบแผ่นใบหนา เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น เส้นแขนงใบข้างละ 5-6 เส้น ก้านใบยาว 2.5-3.2 ซม. หูใบรูปใบหอก 2 อัน หุ้มยอดอ่อนไว้ ยาว 2-5 ซม.หนา ด้านนอนมีขนอ่อนๆ ด้านในเกลี้ยง ช่อดอกไม่มีก้าน ออกเป็นคู่ตรงง่ามใบ หรือที่ตำแหน่งง่ามใบซึ่งใบร่วงไปแล้วเมื่อยังอ่อนมีใบประดับโค้งหุ้มอยู่ใบประดับร่วงง่าย ที่โคนช่อดอกยังมีใบประดับขนาดเล็กยาวประมาณ 5 มม. อีก 3 ใบรองรับช่อดอก และติดอยู่กับผล โคนเชื่อมกัน และมีขนอ่อนนุ่ม ช่อดอกมีรูปร่างคล้ายผล คือมีฐานรองดอกเจริญเปลี่ยนแปลง ขยายใหญ่เป็นกระเปาะ และมีรูเปิดที่ปลาย ดอกแยกเพศอยู่ภายในกระเปาะ ดอกเพศผู้ มีจำนวนมากแซมอยู่ทั่วไป ก้านดอกยาว 2-3 มม. กลีบรวมชั้นเดียว 4 กลีบ เกสรเพศผู้ 1อัน ดอกเพศเมียโคนกลีบติดกันปลายแยกเป็น 4 แฉก รังไข่มี 1 ช่อง มีออวุล 1 เม็ด และมี ดอกเพศเมียไม่สมบูรณ์เพศอาจมีไข่ หรือตัวอ่อนของแมลง อยู่ภายใน (gall-flower) ผลแบบมะเดื่อ (syconium) รูปไข่ ยาว 1.5-2.5 ซม. สุกสีเหลือง ส่วนที่เป็นเนื้อของผลคือฐานรอง ดอกซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ภายใน ผลประกอบด้วยผลเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งแต่ละผลมีเนื้อบางๆ และมี 1 เมล็ด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ภาคใต้ของจีน พม่า ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.